การสร้างเครือข่ายทางการตลาดผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนจังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
เครือข่ายทางการตลาด, เศรษฐกิจสร้างสรรค์, พิพิธภัณฑ์ชุมชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายทางการตลาด 2. เพื่อพัฒนารูปแบบวิธีการสร้างเครือข่ายทางการตลาดผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนจังหวัดลำปาง และ 3. เพื่อสร้างเครือข่ายทางการตลาดผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชนจังหวัดลำปาง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การศึกษาเอกสาร การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 35 รูป/คน จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการพิพิธภัณฑ์ ได้แก่ พระสงฆ์ ตัวแทนชุมชน ตัวแทนจากภาครัฐ และเอกชน โดยทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายทางการตลาด เกิดมาจากการมีส่วนร่วมกันระดมสมองของชุมชน และการประสานงานหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์ของจังหวัด 2. รูปแบบวิธีการสร้างเครือข่ายได้เริ่มต้นจากสร้างพันธสัญญาภายในเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ด้วยกันผ่านทุนทางสังคมในแต่ละแห่งที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละชุมชน 3. การสร้างเครือข่ายทางการตลาดมุ่งประเด็นที่เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ชุมชน และดำเนินงานร่วมกันแบบมีส่วนร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องด้วยการเชื่อมโยงกับการตลาดโอท็อป ร้านค้าชุมชน และการตลาดออนไลน์
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2565). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570. สืบค้น 8 ตุลาคม 2565, จาก https://www.mhesi.go.th/index.php/stg-policy/930-2563-2570.html
ฐาปกรณ์ ทองคำนุช และคณะ. (2564). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยด้วยแนวคิดพิพิธภัณฑ์จุดหมายปลายทาง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1), 38-52.
ณัฏฐินี ทองดี และกนก บุญศักดิ์. (2560). การจัดการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ชี มูล เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ประเทศไทย ลาว และเวียดนาม. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 9(2), 122-137.
ทรงศักดิ์ แก้วมูล. (2549). การดำเนินการศึกษา รวบรวมข้อมูล และสังเคราะห์องค์ความรู้จากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่เป็นกรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. กรุงเทพฯ: สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ.
บุรินทร์ และภาคินี เปล่งดีสกุล. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์จากภูมิปัญญาในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ชุมชนรอบเขื่อนจุฬาภรณ์ กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาน้ำจืดแม่สมศรี ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 206-230.
ปราโมทย์ เหลาะลาภ และกาญจนา เส็งผล. (2555). การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์: พิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 4(1), 36-49.
ศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์. (2559). การพัฒนางานทัศนศิลป์ร่วมสมัยสู่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวัฒนธรรม: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์. วารสารนิเทศศาสตร์, 34(1), 61-74.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2565). ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย. สืบค้น 8 ตุลาคม 2565, จาก https://db.sac.or.th/museum/
สมเกียรติ สุทธินรากร และคณะ. (2562). การสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์มูลค่าของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 13(1), 270-283.
อลงกรณ์ จุฑาเกต. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเรียนรู้ของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(3), 1113-1124.