แนวทางในการพัฒนาการอุดมศึกษาของไทยตามหลักการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
คำสำคัญ:
แนวทางในการพัฒนา, การอุดมศึกษา, การประกันคุณภาพบทคัดย่อ
บทความนี้ได้ทำการศึกษา แนวทางในการพัฒนาการอุดมศึกษาของไทยตามหลักการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งการศึกษา ได้ประเด็นหลักสำคัญในการนำเสนอ ดังนี้ 1. ความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 2. กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2574) 3. แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) 4. คุณภาพอุดมศึกษาไทย 5. แนวทางในการพัฒนาการอุดมศึกษาของไทยผลการศึกษาพบว่า แนวทางในการพัฒนาการอุดมศึกษาของไทยตามหลักการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่สำคัญ สถาบันอุดมศึกษาจำเป็นต้องเปิดหลักสูตรให้ตรงกับสภาพความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคต สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายในสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ มากขึ้น เพื่อเสริมสร้างจุดแข็งและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ใหม่ ๆ สถาบันการศึกษาต้องมุ่งจัดการศึกษาเฉพาะทางที่เป็นการลงลึกเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ อันเป็นการพัฒนาการอุดมศึกษาที่มีคุณภาพโดยสร้างความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้สามารถแข่งขันกับสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำอื่น ๆ ได้ ควรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน และพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). ทิศทางการอุดมศึกษาไทย. สืบค้น 25 ตุลาคม 2565,จาก http://www.kriengsak.com/node/41
จันทร์จิรา อินทนาคม และ อัญมณี เมฆปรีดาวงศ. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มติชนออนไลน์. (2548). สมศ.เผยปัญหาอุดมศึกษาไทยมีเพียบ. สืบค้น 25 ตุลาคม 2565, จาก http://www. matichon.co.th
มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2560). แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวรฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). สืบค้น 25 ตุลาคม 2565, จาก http://www.libnu.ac.th/web
/About/document/d_1507691782.pdf
สุเมธ แย้มนุ่น. (2560). จากนโยบายสู่แผนอุดมศึกษา 15 ปี ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560–2574. สืบค้น 25 ตุลาคม 2565, จาก https://www.stou.ac.th/offices/opr/
planning/pl_main_v2.1/roadmap20/Document/07.pdf