การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ธิลาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหากิตติกร กิตฺติรกฺโข มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, วัดในจังหวัดนนทบุรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไป องค์ประกอบและนำเสนอการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในจังหวัดนนทบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูปหรือคน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ และวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ค่าความถี่ ค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ด้านจุดแข็ง ประกอบด้วย วัดมีความพร้อมในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก ด้านจุดอ่อน ประกอบด้วย ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉาะด้าน ด้านโอกาส ประกอบด้วย สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดให้การส่งเสริม ด้านอุปสรรค ประกอบด้วย ไม่มีหน่วยงานที่เข้ามารับผิดชอบเป็นการเฉพาะ 2. องค์ประกอบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในจังหวัดนนทบุรี ในภาพรวม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.08) 3. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย พัฒนา สถานที่ท่องเที่ยวแสดงให้เห็นถึงความเป็นพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ และพัฒนาการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวให้เกิดความสะดวกสบาย พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานให้ครบ มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ มีการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึง มีปูชนียวัตถุและปูชนียสถานที่สำคัญ

References

พระนิกร ขนฺติสมฺปนฺโน (พลธรรม). (2563). การบริหารสภาพแวดล้อมทางการศึกษาตามหลักสัปปายะ 4 สำหรับโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(4), 227-237.

พระมหาสำราญ ญานุตฺตโม (ประเสริฐซึ้ง). (2561). การจัดการวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดสมุทรสงคราม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มานพ ชุ่มอุ่น. (2554). การพัฒนาการตลาดและการท่องเที่ยวของธุรกิจชุมชนเพื่อการยกระดับสู่วิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา : ชุมชนเทศบาลเมืองแกนพัฒนา อำเภอแม่แตง จังหวัด เชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สุธี สุทธิสมบูรณ์ และสมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2541). หลักการบริหารเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ก.พ.

W.G. Cochran. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31