การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในจังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ธิลาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดนพรัตน์ สุเมโธ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การบริหารจัดการ, ทรัพย์สินของวัด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิเคราะห์สภาพทั่วไปองค์ประกอบและนำเสนอการพัฒนารูปแบบในการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในจังหวัดนนทบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 รูปหรือคนคน  และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ และวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของรูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในจังหวัดนนทบุรี ด้านจุดแข็ง วัดมีเจ้าหน้าที่ทำบัญชีรายรับรายจ่ายทุกประเภท ด้านจุดอ่อน การทำบัญชีของวัดยังไม่เป็นระบบเท่าที่ควร ด้านโอกาส สินทรัพย์ประเภทที่ดินสามารถจัดประโยชน์เพื่อสร้างมูลค่าได้ ด้านอุปสรรค ที่ดินของวัดไม่สามารถขายและแปลงเป็นสินทรัพย์อย่างอื่นได้ 2. องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัด พบว่า ระดับกระบวนการ PDCA ในภาพรวม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.04) 3. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดในจังหวัดนนทบุรี ประกอบด้วย ด้านการได้มาซึ่งทรัพย์สิน วัดได้รับทรัพย์สินมาจากการบริจาค ด้านการบำรุงรักษา มีเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินแต่ละประเภท ด้านการจัดการผลประโยชน์ มีผู้จัดประโยชน์ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าอาวาส ด้านการเก็บรักษาเงินของวัด มีการจัดเก็บเงินของวัดโดยฝากบัญชีธนาคาร ด้านการทำบัญชีรายรับรายจ่าย มีการจัดการบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นประจำทุกปี

References

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2557, 22 ธันวาคม).

ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนที่ 81 ก. หน้า 4.

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). หนังสือคู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วย พระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระธรรมปริยัติโสภณ (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2533). วิทยาพระสังฆาธิการ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระประจิรักษ์ มหาปญฺโญ. (2561). การจัดทำบัญชีเพื่อการจัดการศาสนสมบัติของวัด ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2 พิเศษ), 1-11.

พระปลัดอุดร ปริปุณฺโณ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการสาธารณูปการของวัดในจังหวัดอ่างทอง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุนันท์ สุนนฺโท. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิสันต์ สิงห์ปี. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารที่ธรณีสงฆ์ของพระอารามหลวงในกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศูนย์ข้อมูลด้านพระพุทธศาสนา. (2564). สถิติผู้นับถือ. สืบค้น 4 มกราคม 2564, จาก https://e-service.dra.go. th/buddha.php?p=stat

สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2527). พุทธศาสนาการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2546). คู่มือการดูแลและจัดการศาสนสมบัติ. นครปฐม: สำนักงานศาสนสมบัติ สำนักงานพระพุทธศาสนา.

______. (2546). วัดพัฒนา 46. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31