การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ในอำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พระอุทัย อํสุมาลี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พรรษา พฤฒยางกูร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เติมศักดิ์ ทองอินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระพลากร สุมงฺคโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมการเมือง, การลงคะแนนเลือกตั้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความคิดเห็นต่อระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง 2. เปรียบเทียบความคิดเห็นการมีส่วนร่วมทางการเมือง 3. ประยุกต์พุทธธรรมในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน จังหวัดขอนแก่น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.966 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอำเภออุบลรัตน์ จำนวน 397 คน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test และการทดสอบค่า F-test การวิจัยเชิงคุณภาพ เลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง จำนวน 9 รูปหรือคน คือ พระสงฆ์นักวิชาการ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และผู้นำชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง โดยรวมอยู่ในระดับมาก
(  =3.85) ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมทางการเมือง พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ และอาชีพที่ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมือง แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ที่ต่างกัน มีส่วนร่วมทางการเมือง ไม่แตกต่างกัน และการประยุกต์พุทธธรรมในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน พบว่า ควรนำหลักอปริหานิยธรรม มาปรับใช้เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้เกิดประสิทธิผล

References

ชุติมา ศิริเมธาวี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี: ศึกษาในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2560 (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

บุญทัน ดอกไธสง. (2548). ประชาธิปไตยรากหญ้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร: ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ 2562 (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเรวัฒน์ อคฺคทาโร. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารสหวิทยาการวัตกรรมปริทรรศน์, 3(1), 34-43.

รัฐสภา. (2565). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://web. parliament. go.th /assets/portals/1/files/002

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประจำจังหวัดขอนแก่น. (2562). จำนวนประชากรที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตพื้นที่ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. สืบค้น 20 ตุลาคม 2563, จาก https://www.ect.go.th /khonkaen /more_news. php?cid=37

สุนัดดา นราศร. (2553). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนบ้านหนองใหญ่ ตำบลแก่งเลิงจาน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2563). การเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7), 1-11.

อรนุช โจมจตุรงค์. (2549). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนสตรมหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31