การศึกษาเปรียบเทียบการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของราชอาณาจักรไทย และของต่างประเทศ

ผู้แต่ง

  • พระใบฎีกาเฉลิมพล ฐานุตฺตโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สมาชิกวุฒิสภา, รัฐธรรมนูญ, การเลือกตั้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา 2. ศึกษาปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาแห่งราชอาณาจักรไทย
3. ศึกษาเปรียบเทียบวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่เหมาะสมแห่งราชอาณาจักรไทยกับต่างประเทศ 4. วิเคราะห์ปัญหากฎหมายวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์โดยการพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวคิด ทฤษฎีทั้งรัฐเดี่ยวและรัฐรวม มีวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา โดยมีแบบเลือกตั้ง แบบแต่งตั้ง และแบบผสม 2. การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของประเทศไทย ไม่เป็นประชาธิปไตย 3. เมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งจากประชาชน
4. เห็นควรให้มีการเลือกตั้งโดยตรง โดยการยกเลิก มาตรา 269 และ มาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

References

โกเมศ ขวัญเมือง. (2555). กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองเปรียบเทียบ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ภูทับเบิก.

พนารัตน์ มาศฉมาดล. (2560). การเข้าสู่ตำแหน่งของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สืบค้น 25 กันยายน 2565, จาก https://shorturl.asia/Sfv31

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2526). พระพุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.

โภคิน พลกุล. (2531). ความหมายของกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ และประวัติรัฐธรรมนูญไทย. รัฐสภาสาร, 36(12), 2-5.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2518). การพัฒนาการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: แพร่วิทยา.

วัชรี ทรงประทุม. (2547). ความคิดทางการเมืองในพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิชัย ตันศิริ. (2565). วิวัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2548). กฎหมายรัฐธรรมนูญ : หลักการใหม่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สันติสุข โสภณศิริ. (2564). 24 มิถุนายน 2475: อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของราษฎรทั้งหลาย. สืบค้น 25 กันยายน 2565, จาก https://shorturl.asia/SfdOQ

สุรพันธ์ บุรานนท์. (2557). ศาลไทยกับบทบาทการธารงไว้ซึ่งหลักการปกครองตามระบอบธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-25