พุทธธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจในสถานการณ์โรคระบาด (โควิด-19)
คำสำคัญ:
พุทธธรรม, การพัฒนา, เศรษฐกิจบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอหลักพุทธธรรมที่เป็นแนวคิดช่วยเสริมสร้างและพัฒนาด้านเศรษฐกิจทั้งหมด 5 ประเด็น คือ 1) การมีรายได้และมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น 2) การกระจายรายได้ดีขึ้น 3) การมีงานทำ 4) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ 5) การควบคุมการเกิดมลภาวะเป็นพิษ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มีคุณภาพและยั่งยืน บนพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเทียบเคียงผสมผสานกับหลักสัปปุริสธรรม นํามาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเริ่มจากตัวบุคคลเป็นสำคัญ เพื่อให้รายได้ที่แท้จริงเฉลี่ยของประชากรเพิ่มขึ้นสวัสดิการทางเศรษฐกิจของประชากรที่ดีขึ้น ภายใต้การแข่งขันอย่างเสรี
References
แก้ว ชิดตะขบ. (2550). พุทธธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2560). พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ซีเอ็ดบุ๊กส์เซ็นเตอร์จำกัด.
ภารดี มหาขันธ์. (2530). พระพุทธศาสนากับการพัฒนาเศรษฐกิจ. [ม.ป.ท.]: กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คณะสังคมศาสตร์.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2556). สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บริษัทรพีปกรณ์จำกัด.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์). (2545). พุทธวิธีแก้ปัญหาเพื่อศตวรรษที่ 21. [ม.ป.ท.] กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2542). พระพุทธศาสนากับการเลิกทาสและเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
อภิชัย พันธเสน. (2544). พุทธเศรษฐศาสตร์ : วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่างๆ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ อมรินทร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. กรุงเทพฯ : [ม.ป.ท.].
ณัฏฐพงศ์ ทองภักดี. (2550). ปรัชญาของเศรษกิจพอเพียงกับเศรษฐศาสตร์และการบริหารพัฒนา. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สัมมาสัมพุทธสาวก [นามแฝง]. (2531). เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธีระการพิมพ์.