พุทธจริยธรรมสำหรับนักบริหาร

ผู้แต่ง

  • อภิรัต ศิรินาวิน นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

พุทธจริยธรรม, จริยธรรม, ผู้บริหาร

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาจริยธรรมสำหรับนักบริหาร ผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชนทุกระดับ จะบริหารงานให้ประสบความสำเร็จได้ต้องมีจริยธรรม เนื่องจากจริยธรรมเป็นหลักที่จะทำให้คนในองค์กรปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ภาครัฐและเอกชนจึงได้ส่งเสริมให้บุคลากรโดยเฉาะอย่างยิ่งผู้บริหารได้ปฏิบัติตามหลักจริยธรรม แต่ทั้งนี้การส่งเสริมให้ทุกคนในองค์กรปฏิบัติตามหลักจริยธรรมได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างไรก็ตามยังมีหลักพุทธธรรม ซึ่งเป็นจริยธรรมสำหรับนักบริหาร ที่ง่ายต่อการปฏิบัติ ทุกองค์กรสามารถนำไปส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติตามได้โดยง่าย กล่าวคือ หลักฆราวาสธรรม 4 ประการ ได้แก่ 1. สัจจะ การปฏิบัติตนเป็นคนซื่อตรง มีสัจจะ 2. ทมะ การข่มใจ ฝึกนิสัย ควบคุมตนเองไม่ให้ผิดระเบียบ 3. ขันติ อดทน มุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย 4. จาคะ เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม หลักพุทธจริยธรรมทั้ง 4 ประการนี้ถือเป็นจริยธรรมเบื้องต้นสำหรับนักบริหารทุกระดับทุกองค์กรควรปฏิบัติตาม

References

กรมวิชาการ. (2555). คู่มือการสร้างเครื่องวัดคุณลักษณะด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินฺทปญฺโญ). (2553). ธรรมะกับชีวิตประจำวัน. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย. โครงการตำราสำนักที่ปรึกษากรมอนามัย. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

_____. (2551). การพัฒนาจริยธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.

_____. (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต).

เพ็ญแข ประจนปัจจนึก และคณะ. (2554). การยกระดับคุณธรรมจริยธรรมของสังคมไทยเพื่อการปฏิรูปสังคม : แนวทางและการปฏิบัติ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ภิภพ วชังเงิน. (2545). จริยธรรมวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อมรการพิมพ์.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลำดวน ศรีมณี. (2543). จริยธรรมและจริยศาสตร์ตะวันออก. กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว.

วศิน อินทสระ. (2541). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: ทองกวาว.

ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม). (2551). สังคมมีคุณค่าจากต้นกล้าคุณธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2542). จริยธรรมทางวิชาการ. กรุงเทพฯ: เฟื้องฟ้า.

Griffin, R. W. & Ebert, R. J. (1999). Business (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01