บทบาทวัดกับการพัฒนาจิตใจและสังคม มุ่งสู่หลักเศรษฐกิจพอเพียง
คำสำคัญ:
บทบาทวัด, พัฒนาจิตใจและสังคม, เศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา บทบาทของวัดในประเทศไทย หลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 และการประยุกต์หลักพุทธธรรมกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ผลการศึกษาพบว่า บทบาทสำคัญของวัดมีอยู่ 2 เรื่อง ได้แก่ 1) ทางกาย สามารถสร้างรายได้มีกิจกรรมที่สอดคล้องกับสังคม ตอบสนองความต้องการของชุมชน 2) การพัฒนาในเรื่องของจิตใจ เป็นการขัดเกลาอบรมบ่มเพาะให้ประชาชนเป็นคนดี ให้ประชาชนมีจิตสำนึกที่จะทำความดีโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง สอดคล้องกับหลักพุทธธรรม ได้แก่ สัมมาอาชีวะ แปลว่า เลี้ยงชีพชอบ หรือ มีชีวิตที่พอเพียง ไม่ฟุ่มเฟือย รู้จักอดออม อดทน และสร้างรายได้ อีกอย่างหนึ่งคือ หลักทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ มุ่งสอนในเรื่องของความขยันหมั่นเพียร (อุ) การออม (อา) การมีเพื่อนที่ดี (กะ) การเลี้ยงชีพชอบ (สะ) จำเป็นต้องประกอบด้วยความขยันหมั่นเพียร การรู้จักอดออม การคบคนดีเป็นมิตร รวมถึงการวางตนที่เหมาะสมพอดีเป็นกลางไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินไปจึงจะทำให้แก้ไขปัญหาสังคมเศรษฐกิจโดยการเริ่มจากตนเองก่อน
References
ไทยโพสต์. (2562). ชาวบ้านหวังรัฐบาลใหม่แก้ปัญหาปากท้อง. สืบค้น 18 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.thaipost.net/main/detail/38671.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2555). เศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้น 26 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.chaipat.or.th/site_content/item/3579-2010-10-08-05-24-39.html.
มูลนิธิพระดาบส. (2552).คำสอนพ่อ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพ.
อาทร จันทวิมล.(2543). คู่มือการดำเนินงานวัดพัฒนาตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.