ประสิทธิภาพในการบริหารชุมชนของผู้นำที่ประชาชนคาดหวัง

ผู้แต่ง

  • พระครูปราการคีรีรักษ์ สจฺจวโร (ฉุยฉาย) วัดด่านสิงขร

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพ, การบริหารชุมชน, ความคาดหวัง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งเน้นการศึกษาประสิทธิภาพในการบริหารงานชุมชนของผู้นำที่ประชาชนให้ความคาดหวัง

ผลการศึกษาพบว่า ผู้นำที่ประชาชนคาดหวังจำเป็นต้องมีความเสียสละ มีภาวะผู้นำ สามารถนำหลักของการบริหารมาใช้ให้ถูกที่ ถูกคนและถูกเวลา และต้องมองการณ์ไกลคือ การมีวิสัยทัศน์ นโยบายที่ชัดเจน สามารถประยุกต์หลักหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เข้ามาบูรณาการด้วยคือ “สัจจะ” คือ พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น การที่ประสิทธิภาพของการบริหารงานชุมชนจะเกิดขึ้นได้ มิใช่เพียงอาศัยผู้นำเท่านั้น แต่ต้องอาศัยทั้งฝ่ายรัฐ และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประสิทธิภาพด้านต่าง ๆ ด้วยจึงจะเกิดประโยชน์ต่อชุมชนได้ และมีประสิทธิภาพประกอบด้วย 1. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวที่กระตุ้นเศรษกิจน้อยลง หรือ ปัจจัยด้านอื่น ๆที่ทำให้ประชาชนมีความหวังจากผู้นำ 2.การเมือง การอยู่ด้วยกันอย่างสันติ สังคม การศึกษาที่ต้องพัฒนา การลดความขัดแย้ง ไม่เอารัดเอาเปรียบ มีความปลอดภัย สัมมาชีพ เลี้ยงชีพและสมานฉันท์ได้ 3.สถาบัน ทั้ง 3 อยู่เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ 4.การพัฒนาชุมชนตามที่ควรจะเป็นเช่น คมนาคม,ประปา,ไฟฟ้า เป็นต้น ลดความเหลื่อมล้ำ และ5.ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วยภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ และมีคุณธรรม

References

กรมการปกครอง สำนักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น. (2543). คู่มือการฝึกอบรมด้านการคลังท้องถิ่นตาม โครงการพัฒนาการเงินการคลังท้องถิ่นภายใต้มาตรการเพื่อการใช้จ่าย ภาครัฐเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2542. กรุงเทพฯ: อาสารักษาดินแดน.

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2556). เอกสารประกอบการสอนวิชาการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency Development). พระนครศรีอยุธยา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เฉลิมเกียรติ แก้วหอม (2555). แนวคิดทฤษฎีการประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน. สืบค้น 5 ตุลาคม 2566, จาก http://sukanrat.blogspot.com/2012/09/blog-post_804.html.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2544). การบริหารการพัฒนา: ความหมาย เนื้อหาแนวทางและปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรวงทิพย์วงศ์พันธุ์. (2541). คุณภาพบริการตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้บริการในงานผู้ป่วย นอกโรงพยาบาลรัฐ จังหวัดสพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารโรงพยาบาล). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประเทือง สูงสุวรรณ. (2534). การศึกษาการรับรู้และความคาดหวังของครูต่อสภาพแวดล้อมโรงเรียน ของโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฤทัยทิพย์ โพธิ์อ่อน. (2550). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท. วิริยะซัพพลาย จำกัด.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

สกาวดี ดวงเด่น. (2539). การศึกษาคุณภาพบริการพยาบาลที่ผู้ป่วยคาดหวังและที่พยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วยรับรู้ความคาดหวังของผู้ป่วยโรงพยาบาลรัฐ (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน (พิมพ์ครั้งที่6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สมยศ นาวีการ. (2549). การบริหารและพฤติกรรมในองค์กร (พิมพค์รั้งที่4). กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

Maslow, A. H. (1970). Motivational and personality. New York: Harper & Brother.

Peterson, E., & Plowman, E.G. (1989). Business organization and management. Homewood, llinois: Richard D. Irwin

Vroom, H V. (1997). Work and motivation. New York: Wiley & Sons.

Woodcock, M. (1989). Team development manual. Worcester: Billing & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-23