แนวโน้มการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ ในยุคหลังสถานการณ์โควิค 2019

ผู้แต่ง

  • พระบุรเขตธรรมคณี (บังคม รกฺขิตธมฺโม) วัดบางปรือ จังหวัดตราด

คำสำคัญ:

แนวโน้มการเผยแผ่พระพุทธศาสนา, พระสงฆ์, ยุคหลังสถานการณ์โควิค 2019

บทคัดย่อ

แนวโน้มการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในยุคหลังสถานการณ์โควิค 2019 พระสงฆ์และประชาชนยังคงต้องระมัดระวังในการป้องกันซึ่งมีผลกระทบหลาย ๆ ด้านเกิดขึ้นแก่พระสงฆ์และประชาชนทำให้ประชาชนหันมาพึ่งตนเองโดยอาจจะไม่สนใจหลักธรรมทางพุทธศาสนา เพราะจำเป็นต้องเอาตัวรอดในสังคมปัจจุบัน, “บทบาทของ พระสงฆ์” ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้สืบทอดคำสอนของพระพุทธเจ้ามาจำเป็นต้องพัฒนาตนเองทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อเป็นผู้นำในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยเริ่มจากการพัฒนา 1) การศึกษา การอบรมและพัฒนา โดยเริ่มต้น นักธรรม บาลี ปริยัติสามัญ หรืออุดมศึกษาและการศึกษาปฏิบัติธรรม 2) การใช้เทคโนโลยี ทำหน้าที่ในการเผยแผ่ศาสนธรรม ผ่านศาสนพิธี และศาสนปฏิบัติ  โดยเน้นในเรื่อง “การเผยแผ่เชิงรุกมากกว่าการตั้งรับ” เรียกว่ามี องค์กรเผยแผ่หรือองค์กรสื่อสาร ที่ทำหน้าที่โดยตรงในด้านการหาข้อมูลหาสื่อ เลือกผู้ที่จะส่งสาร และเลือกในการที่จะลงสื่อ ให้เป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนเพราะในปัจจุบันนี้การลงสื่อที่เป็นธรรมะอาจจะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อแต่ถ้ามีเรื่องราว พระสงฆ์จึงจำเป็นจะต้องเรียนรู้และสร้างแนวคิดศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยและนำหลักธรรมของพระพุทธเจ้ามาเผยแผ่ในยุคปัจจุบันให้เข้ากับสังคมในยุคปกติวิถีใหม่

References

นสพ.บ้านเมืองออนไลน์. (2563). วัดพระธรรมกายเผยแผนเผยแผ่พระพุทธศาสนาปี 2564.สืบค้น 9 มกราคม 2566 จากhttps://www.banmuang.co.th/news/education/216129

พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ. (2566). วัดพระธรรมกาย-การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก. สืบค้น 9 มกราคม 2566, จาก http://www.dmc.tv/pages/scoop/

ภัทราพร สิริกาญจน. (2538). ความสำคัญของพระสงฆ์ต่อชาวไทย. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วรรษมน จันทรเบญจกุล. (2563). การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้น 6 มกราคม 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/handout002_26022020.

วัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร.(2564). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานการณ์โควิด-19. สืบค้น 9 มกราคม 2566,จากhttps://www.watprayoon.com/main.php?url=news_view&id=2913&cat=B&table=news

สหประชาชาติ ประเทศไทย. (2563). การประเมินผลกระทบรวมด้านเศรษฐกิจและสังคม จากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในประเทศไทย. สืบค้น 4 ธันวาคม 2565, จากhttps://shorturl.asia/gPA2e.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). การกลับมาของพระพุทธศาสนา “พระเอก” ของการศึกษาใหม่. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลายสือ.

แสง จันทร์งาม.(2544). พุทธศาสนวิทยา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.

Burnet, R., & Marshall, D.P. (2003). Web Theory. London: Routlege.

Guo, et al. (2020). The origin, transmission and clinical therapies on coronavirus disease 2019(covid-19) outbreak: An update on the status. Retrieved July 21, 2021, formhttps://www.ncbi.nlm.nih.gov/

pmc/articles/PMC7068984/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-01