เศรษฐกิจสีน้ำเงิน: จากแนวคิดสู่นโยบายการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ ทางทะเล

ผู้แต่ง

  • ภาวิดา รังษี มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • เชษฐ์ ใจเพชร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

นโยบาย, เศรษฐกิจสีน้ำเงิน, ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล

บทคัดย่อ

เศรษฐกิจสีน้ำเงินเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลที่ต้องการให้เกิดความสมดุลระหว่างมิติทางเศรษฐกิจ มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติความมั่นคง จากแนวคิดนี้องค์การสหประชาชาติได้นำมากำหนดเป็นวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 14 การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยได้ให้การรับรองเมื่อ ค.ศ. 2015 ประกอบกับประเทศไทยมีการนำทรัพยากรมาใช้อย่างต่อเนื่องทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเล ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในดังกล่าวนำมาสู่การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรทางทะเล และพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล พ.ศ. 2562 แต่กฎหมายนี้มุ่งเน้นมิติด้านความมั่นคง การป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดจากการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลภายในอาณาเขตของรัฐ มากกว่ามิติทางเศรษฐกิจและมิติด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในกระบวนการนโยบายสาธารณะเมื่อมีการนำนโยบายไปปฏิบัติแล้วเห็นปัญหา หรือมีการประเมินผลนโยบายแล้ว รัฐบาลสามารถนำมาปรับปรุงการกำหนดนโยบายเพื่อให้เกิดความสมดุลของมิติทั้ง 3 ด้าน และก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2557). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2557). ขอบเขตพื้นที่ระบบนิเวศ/ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในความดูแลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.dmcr.go.th/upload/nws/file/file-626763237.pdf

จุฑารัตน์ พรหมทัต. (2562). Blue Economy เทรนด์ใหม่ที่ได้รับความสนใจในระดับโลก. วารสารสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า, 9(91), 3.

ธนิต โสรัตน์. (2560). เอกสารการบรรยายเรื่องเศรษฐกิจสีคราม: ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิรมล สุธรรมกิจ และอณิน อรุณเรืองสวัสดิ์. (2561). การศึกษาแนวโน้มของการพัฒนาจังหวัดชายฝั่งทะเลของประเทศไทยเพื่อเข้าสู่เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: กองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ปุณฑริกา เรืองฤทธิ์. (2560). Blue Economy กำลังก่อตัวในน่านน้ำเอเชียตะวันออก (ตอนที่ 1). สืบค้น 3 สิงหาคม 2565, จาก https://thaipublica.org/2017/11/.

มยุรี อนุมานราชธน. (2549). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

วัชริน มีรอด และคณะ. (2560). การพัฒนากรอบการจัดทำบัญชีเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). เศรษฐกิจสีน้ำเงิน ความท้าทายใหม่ของเศรษฐกิจไทย. TSRI Policy Brief, 9(34), 1-8.

สุทธสินี สนธิรัตน. (2561). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีน้ำเงินในบริบทของประเทศไทย. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://www.fisheries.go.th/

โสภารัตน์ จารุสมบัติ. (2562). กระบวนการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจสีน้ำเงิน. ในโสภารัตน์ จารุสมบัติ (บรรณาธิการ). คู่มือการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจสีน้ำเงินของประเทศไทย. (น. 34-57). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อดิศร์ อิสรางกูร ณ อยุธยา. (2561). เขตเศรษฐกิจสีน้ำเงินของประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

UN in western Europe. (2020). Blue Economy: oceans as the next great economic frontier. Retrieved October 10, 2022, from https://unric. org/en/blue-economy-oceans-as-the-next-great-economic-frontier/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-20