“ครอบครัว” และ “ระบบเครือญาติ” บริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา ในท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลง ทศวรรษ 2460 – ปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • พรชัย นาคสีทอง มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ประวัติศาสตร์ครอบครัว, ระบบเครือญาติ, ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, ประวัติศาสตร์ลุ่มทะเลสาบสงขลา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานิยามความหมายของครอบครัวและระบบเครือญาติบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลา รวมถึงศึกษาวิเคราะห์ลักษณะความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและระบบเครือญาติของชุมชนบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ทศวรรษ 2460 ถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์

ผลการวิจัยพบว่า ประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นในบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาแสดงให้เห็นว่าความหมายของ ครอบครัว และความรับรู้ของสังคมลุ่มทะเลสาบสงขลาเกี่ยวกับ ระบบเครือญาติ ปรากฏ 3 ลักษณะ คือ สายโลหิต การแต่งงาน และโดยการสมมติหรือญาติเสมือน ขณะที่ความเปลี่ยนแปลงของลักษณะความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและระบบเครือญาติแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา กล่าวคือ ช่วงแรกก่อนทศวรรษ2520 ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและระบบเครือญาติเหนียวแน่น เข้มข้น เข้มแข็ง กลายเป็นรากฐานและกลไก สร้างความมั่นคงต่อวิถีการผลิตและความมั่นคงของชุมชน ช่วงที่สอง ทศวรรษ 2520 ถึงกลางทศวรรษ 2540 ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและระบบเครือญาติมีความเหินห่าง หดแคบ ด้วยเงื่อนไขการดำเนินวิถีเชิงปัจเจกซึ่งมีส่วนสำคัญที่นำไปสู่ภาวะของการเมินเฉยและภาวะช่องว่างระหว่างวัย/กลุ่มคน ช่วงที่สามตั้งแต่กลางทศวรรษ 2540 ถึงปัจจุบัน เป็นช่วงแห่งการรื้อฟื้นความเป็นครอบครัวและระบบเครือญาติในรูปแบบของความสัมพันธ์ใหม่เพื่อนำคุณค่ามาปรับใช้ขับเคลื่อนกิจกรรมกลุ่มและสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน

References

ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ. (2538). “แนวทางการศึกษากับสถานภาพความรู้เรื่องระบบครอบครัวและเครือญาติในสังคมไทย” ในผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการพัฒนาโครงการวิจัยเรื่องครอบครัวและเครือญาติไทย : อดีตปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ชนาวุธ บริรักษ์. (2562). การเพิ่มขึ้นของ “วันสำคัญ” กับการสร้างความเป็นพลเมืองของชาติไทย ทศวรรษ 2520 – 2540 (วิทยานิพนธ์ ศศ.ม.ประวัติศาสตร์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชาติชาย มุกสง. (2549). บททดลองนำเสนอว่าด้วยประวัติชีวิตครอบครัว : คนเล็กๆ กับวิธีการศึกษาแนวจุลประวัติศาสตร์ (Microhistory) ใน การประชุมวิชาการระดับชาติเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ 3 วันที่ 16 – 17 พฤศจิกายน 2549. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยะวัติ บุญ-หลง (2548). “คำนำ” ใน ประวัติศาสตร์เพื่อชุมชน : ทิศทางใหม่ของการศึกษาประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พิมลพรรณ อิศรภักดี (2560, 12 พฤษภาคม). พลิกโฉมครอบครัวไทยจาก "เดี่ยว" เป็น "3 รุ่น" ใน ไทยรัฐ. ฉบับวันที่ 12 พฤษภาคม 2560.

ยงยุทธ ชูแว่น และคณะ. (2548). บทสังเคราะห์เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านบริเวณลุ่มทะเลสาบสงขลาในมิติประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สถาบันไทยคดีศึกษา. (2540). การประชุมสัมมนาเรื่อง “ทฤษฎีและแนวทางการศึกษาเชิงสถาบันและประวัติศาสตร์ครอบครัวไทย”. จัดโดยสถาบันไทยคดีศึกษา วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540.

สายชล สัตยานุรักษ์. (2558). ประวัติศาสตร์รัฐไทยและสังคมไทย : ครอบครัว ชุมชน ชีวิตสามัญชน ความทรงจำและอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2542). “เกลอ” ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคใต้. กรุงเทพฯ: มูลนิธิฯ.

สุรเชษ์ฐ สุขลาภกิจ.(2556). ผัวเดียวเมียเดียว” ในสังคมไทยสมัยใหม่จากทศวรรษ 2410 ถึงทศวรรษ 2480. (วิทยานิพนธ์ อ.ม.ประวัติศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อคิน รพีพัฒน์. (2538). การพัฒนาโครงการวิจัยเรื่องครอบครัวและเครือญาติไทย : อดีต ปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อาคม เดชทองคำ. (2544). ผูกโยด : วิถีและพลังของการผูกเกลอ ผูกดอง และขนบนิยมอุปถัมป์ของผู้คนสามจังหวัดชายขอบรอบทะเลสาบสงขลา. นครศรีธรรมราช: สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช.

Burke, P. (1991). The French Historical Revolution: The Annales School 1929-89. CA: Stanford University Press.

Loos, T. L. (2006). Subject Siam: family, law, and colonial modernity in Thailand. Ithaca: Cornell University Press.

Phillips, Faye. (1995). Local History Collections in Libraries. Englewood, Colorado: Libraries Unlimited, INC.

Pornchai Nakseethong. (2022, January - February). “Cremation Volumes and the Changes in the Thai Southerners’ Emotions and Dreams of Hope, 1910s - 2010s,” Journal of MCU Social Science Review, 11(1), 197-211.

Russo, D.J. (1974). Families and Communities: A New View of American History. Nashville TN: American Association for State and Local History.

Talcott, P. (1955). Family: socialization and interaction process. Glencoe, Ill: Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-20