เล้าข้าว: ดัชนีชี้วัดความมั่งคั่งของคนอีสานยุคเก่า

ผู้แต่ง

  • พระคมสัน เจริญวงค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูปุริมานุรักษ์ (ประสิทธิ์ ธุรสิทฺโธ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • เอนก ใยอินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เล้าข้าว, ดัชนีชี้วัดความมั่งคั่ง, อีสาน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอการเปลี่ยนผ่านและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมชนบท วิถีชีวิตการทำนา การเก็บข้าวในยุ้งฉาง และดัชนีชี้วัดความมั่งคั่งร่ำรวยของผู้คนชนบทในแต่ละยุคสมัย เพื่อสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคสมัยใหม่ ยุคเทคโนโลยีและความทันสมัยเข้ามาครอบงำ ผู้คนแสดงความฟุ้งเฟ้อใช้จ่ายจนเกินตัวก่อให้เกิดภาระหนี้สิน ส่งผลให้เกิดการก่อคดีอาชญากรรม ปล้นขโมย ลักทรัพย์ เป็นต้น การเปลี่ยนผ่านดัชนีชี้วัดความมั่งคั่งในชนบทถูกครอบงำและถ่ายทอดความเชื่อจากคนท้องถิ่นที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ และเรียนรู้ ลอกเลียนแบบจดจำแล้วนำไปประกอบสร้างผสมผสานเข้ากับความเชื่อและวัฒนธรรมใหม่ที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อโซเซียล จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงดัชนีชี้วัดความมั่งคั่งแบบดั้งเดิมสู่การวัดความมั่งคั่งแบบใหม่ในยุคปัจจุบัน เช่น มีบ้านสไตล์โมเดิร์น มีรถยนต์ส่วนบุคคล มีโทรศัพท์มือถือไอโฟน เป็นต้น ปล่อยให้ความมั่งคั่งตามรูปแบบวิถีชนบทดั้งเดิมถูกทำลายและค่อย ๆ สูญสลายไปตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป

References

กนกพร รัตนสุธีระกุล. (2557). การเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตของสังคมชาวนาลุ่มน้ำชี กรณีศึกษา : บ้านหนองผือ ต.หนองบัว อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม), 35(3), 447-459.

เฉลิมแก้ว แสงแก้ว. (2560). ความเชื่อในการสร้างเล้าข้าว. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/628681.

เชาวลิต สิมสวย. (2558). ภูมิปัญญาในการเก็บข้าวมีผลต่อรูปแบบและที่ตั้งของยุ้งข้าวบริเวณบ้านพักอาศัยในสังคมเกษตรกรรม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 10(1), 23-32.

ณรงค์ ธนาวิภาส. (2560). หลักเศรษฐศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์.

ประณีกานต์ ยีรัมย์ และคณะ. (2560). ยุ้งหลองของไทย-ลาว. สืบค้น 4 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://sites.google.com/site/yung.

พัชรี ภาวศุทธิกุล. (2560). โรคไหลตาย ภัยเงียบที่ซ่อนเร้น ทำให้เสียชีวิตฉับพลันขณะนอนหลับ. สืบค้น 4 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.nakornthon.com/.

ยง บุญอารีย์. (2554). เล้าข้าวในวัฒนธรรมไท-อีสาน. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10(1), 24-35.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

สมชาย นิลอาธิ. (2526). เล้าข้าวของชาวอีสาน. วารสารเมืองโบราณ, 9(3), 123-125.

หนังสือพิมพ์ Today Online. (2565). 10 อันดับมหาเศรษฐีรวยที่สุดในโลก ปี 2020.สืบค้น 7 กุมภาพันธ์ 2566, จากhttps://workpointtoday.com/.

อภิชัย พันธเสน. (2558). พุทธเศรษฐศาสตร์ : วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.

อานันท์ กาญจนพันธุ์ 2527 พัฒนาการของชีวิตและวัฒนธรรมล้านนา. เชียงใหม่: โครงการตำรา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จริญญา บุญอมรวิทย์. (2564). การพัฒนาการของเงินตรา. สืบค้น 4 กุมภาพันธ์ 2566, จาก http://coinmuseum.treasury.go.th/download/article/.

Ganjanapan, Anan. (1984). The partial commercialization of rice production in Northern Thailand. Cornell: Cornell University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-20