แนวทางการปฏิบัติตามหลักพุทธจริยธรรม

ผู้แต่ง

  • พระอนุลักษ์ ฐิตวฑฺฒโน (สุขเรือง) วัดเทพสิทธิการาม จ.พิจิตร

คำสำคัญ:

แนวทาง, การปฏิบัติ, หลักพุทธจริยธรรม

บทคัดย่อ

หลักธรรมเป็นกระบวนการพัฒนาจิตใจและชีวิตขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีสติปัญญา มีความสุขสมบูรณ์ที่สุด เพราะจริยธรรมที่เป็นหลักธรรมแห่งความดีอันสูงสุด กล่าวคือ หลักพุทธจริยธรรม ที่พระพุทธองค์ได้ทรงปฏิบัติและสั่งสอนให้พุทธศาสนิกชนดำรงชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ไม่ให้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความประมาท โดยมีหลักการ คือ ให้ละความชั่ว ให้ทำความดี และให้ทำกายใจของตนเองให้บริสุทธิ์ผ่องใส ซึ่งผู้เขียนได้นำเสนอแนวทางการปฏิบัติตามหลักพุทธจริยธรรมไว้เป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1) พุทธจริยธรรมระดับต้น คือ ศีล 5 หรือ เบญจศีล ความประพฤติชอบทางกายและวาจา และการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย 2) พุทธจริยธรรมระดับกลาง เป็นพุทธจริยธรรมที่มุ่งขัดเกลาตนเองให้มีจิตใจสูงขึ้น เป็นการเว้นอกุศลกรรมบถ 10 และทำกุศลกรรมบถให้สมบูรณ์ 3) พุทธจริยธรรมระดับสูง ซึ่งเป็นจริยธรรมที่มุ่งพัฒนาตนเองสู่ความเป็นอริยชน ประกอบด้วยหลักธรรมคำสอนที่เป็นมรรค 8 หรือที่เรียกอีกชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งแปลว่า ทางสายกลาง

References

ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2543). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พระธรรมปิฎก.(2546). (ป. อ. ปยุตโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550).การพัฒนาที่ยั่งยืน (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิกจำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). เครื่องวัดความเจริญของชาวพุทธ (อารยวัฑฒิ). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภิภพ วชังเงิน. (2545). จริยธรรมวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก (ภาษาบาลี) ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎก(ภาษาไทย)ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลำดวน ศรีมณี. (2543). จริยธรรมและจริยศาสตร์ตะวันออก. กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว.

สถาพร วิชัยรัมย์. (2559). จริยธรรมสำหรับนักบริหาร. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

ไสว มาลาทอง. (2542). การศึกษาจริยธรรม สำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา นักบริหาร นักปกครอง และประชาชนผู้สนใจทั่วไป. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-20