ทิศทางการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ภายใต้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ของครูในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

ผู้แต่ง

  • วิโรชน์ หมื่นเทพ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, รูปแบบออนไลน์, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาทิศทางการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ ประชากร คือ ครูโรงเรียนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวนครูทั้งสิ้น 6,056 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่าง 376 คน ใช้แบบสอบถามที่มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 ในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ พบว่า โรงเรียนมีนโยบายส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีการประเมินความพร้อมของสถานศึกษาในการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์จากผู้ปกครอง ผู้เรียน ครู และโรงเรียน อย่างเป็นระบบและมีวิธีการที่ชัดเจน ในการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ ส่วนใหญ่ใช้การประเมินผลการมีส่วนร่วมในระหว่างเรียนออนไลน์ร่วมกับชิ้นงาน โดยใช้โปรแกรมที่หลากหลายผสมผสานกันตามความเหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่ใช้โปรแกรม Google Hangout Meet บทบาทของครูส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบผู้ให้คำแนะนำ สำหรับสื่อที่ใช้เป็นการผสมผสานหลายรูปแบบ แต่ที่ครูนิยมใช้มากที่สุด ได้แก่ PowerPoint, Clip VDO, หนังสือ/แบบเรียน 2). ทิศทางการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านเนื้อหา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดซึ่งอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านรูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านระบบเทคโนโลยี อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ

References

Fakngern, S. & Kijkuakul, S. (2021). Online Science Learning Management During the Covid-19 Pandemic: A Case Study of A Large School in The Lower Northern Region of Thailand. Journal of Education, Mahasarakham University, 15(3), 223-235.

Panto, P. (2020). A list of hundreds of stories.Thailand. Retrieved on September 29, 2020, Form https://library2.parliament.go.th/giventake.

Ratchakit, T. (2019). Education is important to human resource development.

Retrieved on September 29, 2020, from https://th.hrnote.asia/.

Siljaru, T. (2012). Research and statistical analysis with SPSS and AMOS. 13th ed. Nonthaburi: S. R. PRINTING MASSPRODUCTS COMPANY LIMITED.

Suparan, K. (2021). Citizen Education and 21st Century Key Skills Development.Retrieved on March 16, 2023, from https://www.eduCathai.com/

The Secondary Educational Service Area Office Bangkok 2. (2021). Action plan

Budget 2021 of The Secondary Educational Service Area Office Bangkok 2. Retrieved on August 24, 2021, from https://www.sesao2.go.th/wp-content/uploads/2021/08.

Thinsandee, T. & Sangchatree, P. (2023). 5 Models for Teaching Managementin Emerging Disease Situations. RATANABUTH JOURNAL, 3(3), 66-73.

Wayo, W. (2020) & et al. Online Learning Under the COVID-19 Epidemic: Concepts and applications of teaching and learning management. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 14(34), 285-298.

Yamane, T. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper& row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-20