แนวทางการเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ ตามหลักพุทธธรรม ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • จิรายุ แก้วกาหลง มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • กรรณวิษณ์ ช่วยอุปการ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

แนวทางการเสริมสร้าง, ความผาสุกทางจิตวิญญาณ, ผู้สูงอายุ, หลักพุทธธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุ และ 2. แนวทางการเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้เครื่องมือแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 327 คน โดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์และประเด็นสนทนากลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมาย โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 21 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ 1) ด้านความเข้าใจตนเองและธรรมชาติของชีวิต 2) ด้านการมีเป้าหมายและสิ่งยึดเหนี่ยว 3) ด้านความสุขสงบ และ
4) ด้านการเข้าถึงหลักธรรมในพระพุทธศาสนา 2. แนวทางการเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม มี 4 แนวทาง ดังนี้ 1) จัดกิจกรรม มีพื้นที่ให้ผู้สูงอายุแลกเปลี่ยนความรู้ ปรึกษาหารือความเป็นไปในชีวิต 2) จัดกิจกรรมให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ ให้รู้สึกมีคุณค่า มีเป้าหมายชีวิต ได้พบปะสังสรรค์สร้างปฏิสัมพันธ์ 3) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติธรรมให้ประชาชนได้มาฝึกจิตใจ มีผู้นำปฏิบัติ ให้คำแนะนำการพัฒนาจิตใจให้เข้าถึงความสุขสงบในตน ปฏิบัติด้วยตนเองที่บ้านได้ 4) พัฒนาสื่อสังคมเครือข่ายเผยแพร่หลักพุทธธรรมให้เข้าถึงง่ายและน่าสนใจมากขึ้น

References

กนิษฐา ลิ้มทรัพย์. (2557). การตระหนักรู้ในตนเอง การมองโลกในแง่ดี ความพึงพอใจในชีวิตและ ความผาสุกทางจิตวิญญาณ ของผู้สูงอายุในศูนย์บริการผู้สูงอายุดินแดง เขตดินแดงกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์ พับลิชชิ่ง.

กำพล ชาวนาเสียว. (2564, 16 ธันวาคม). ประธานชมรมผู้สูงอายุบ้านนาเสียว [บทสัมภาษณ์].

เกิดสิริ หงษ์ไทย. (2564). การวิเคราะห์มโนทัศน์ความผาสุกตามมุมมองในผู้สูงอายุ. วารสารสภาการพยาบาล, 36(4), 44-59.

ณฐิภารัตน์ จิตรบุตร และคณะ. (2561). ปัจจัยด้านจิตสังคมที่สัมพันธ์กับความผาสุกในชีวิตของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการพยาบาลและสุขภาพจิต, 23(1), 102-118.

เนตรฤทัย ภูนากลม นาฎนภา และคณะ. (2563). การพัฒนาความผาสุกทางจิตวิญญาณในเด็กวัยรุ่นโรคมะเร็ง : การพยาบาลแบบองค์รวม. วารสารการพยาบาลทหารบก, 21(2), 63-73.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระครูปริยัติธรรมวิบูล (ชวี อิสสโร) และคณะ. (2561). รูปแบบการเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพุทธจิตวิทยา. รมยสาร, 16(พิเศษ),

-430.

พระปลัดวีระชนม์ เขมวีโร และคณะ. (2560). การเสริมสร้างความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(1), 78-88.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: เอส อาร์พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พระอธิการสุเนตร กนตวีโร และคณะ. (2564). พุทธวิธีพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 372-383.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเสียว. (2565). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพตำบลนาเสียว. ชัยภูมิ: โรงพยาบาลสุขภาพตำบลนาเสียว.

วัลนิกา ฉลากบาง. (2559). จิตวิญญาณความเป็นครู : คุณลักษณะสำคัญของครูมืออาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(2), 123–128.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2552). ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของครอบครัวและชุมชนในชนบทไทย. วารสารพฤฒาทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 10(3), 13-24.

สำนักส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต. (2556). การดูแลทางด้านสังคมจิตใจของผู้สูงอายุเพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิต. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุพัตรา บำรุงจิตร. (2561). ปัจจัยทำนายความผาสุกทางใจของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิต

และจิตเวช). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรสิทธิ์ ไกรสิน. (2560). รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการดูแลสุขภาวะองค์รวมของผู้สูงอายุในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ โดยประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 9(1), 24-37.

แสงเดือน พรมแก้วงาม และอรัญญา นามวงศ์. (2560). ความผาสุกทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 204-213.

อรัญญา นามวงศ์ และคณะ. (2562). รูปแบบศักยภาพชุมชนในการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง : กรณีศึกษา ตำบลบ้านต๋อม จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 12(3), 89-103.

อารยา ผลธัญญา. (2564). การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์กับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(3), 272-288.

Cummings, et al. (1961). Growing Old: The Process of Disengagement (Second Printing edition). Basic Books: New York.

Havighurst, R. J. (1973). Human Development and Education (Third Printing edition). New York: Longmans.

Xu, J. (2018). A Tripartite Function of Mindfulness in Adjustment to Aging: Acceptance, Integration, and Transcendence. The Gerontologist, 58(6), 1009–1015.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Maslow, A. (1970). Human needs theory: Maslow’ s hierarchy of human needs. (Third Printing edition). Philadelphia: Lippincott.

Trapsinsaree, D., et al., (2022). Factors predicting spiritual well-being among dependent older people. Trends Sciences, 19(1), 1718.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15