แนวทางในการดูแลสุขภาวะองค์รวมเชิงพุทธ

ผู้แต่ง

  • วารีญา ม่วงเกลี้ยง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แนวทางในการดูแลสุขภาวะ, เชิงพุทธ, พระสงฆ์ไทย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มุ่งเน้นการศึกษาแนวทางการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ไทย ผลจากการศึกษาเอกสารและแนวคิดต่าง ๆ ได้ผลการศึกษาคือแนวทางการดูแลสุขภาพพระสงฆ์มีลักษณะตามหลักการอยู่ 2 ประเด็น คือ ตามแนวคิดและทฤษฎีของสากลและตามธรรมนูญสุขภาวะพระสงฆ์ พ.ศ 2560 ถึงกระนั้นก็สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ส่วนที่ 1 พระสงฆ์เป็นผู้ที่สร้างความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของการดูแลสุขภาพ รวมถึงการบริหารจัดการวัดให้เป็นสถานที่รื่นรมย์มีสิ่งแวดล้อม ที่อำนวยความสะดวก มีอากาศถ่ายเท เป็นต้น จะสามารถทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง รวมถึงการงดเว้นจากสิ่งที่จะมาทำลายสุขภาพ ร่างกาย เช่น บุหรี่ หรือ การฉันของหวานหรืออาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ เป็นต้น และ ส่วนที่ 2 คือ ประชาชนให้การสนับสนุนในเรื่องของอาหารที่ถูกสุขลักษณะครบถ้วน 5 หมู่และทำให้เกิดเป็นประโยชน์แก่พระสงฆ์ และส่วนที่ 3 ภาครัฐมีการให้การสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นการป้องกัน รักษา หรือควบคุมโรคที่เกิดขึ้นภายในวัด มีการเข้าไปตรวจสุขภาพพระสงฆ์ สร้างองค์ความรู้อบรมจัดกิจกรรม

References

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และชาติชาย มุกสง. (2545). พรมแดนความรู้ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

เจาะลึกระบบสุขภาพ. (2560). วิกฤตสุขภาพพระสงฆ์ไทยนับแสนรายป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เหตุพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ. สืบค้น 16 มีนาคม 2566, จาก https://www.hfocus.org/content/2019/09/17751

ดาริวรรณ เศรษฐีธรรม และคณะ. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะสุขภาพ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ทวีชัย เชสูงเนิน และปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์. (2554). ความอยู่ดีมีสุขและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกสมาคมข้าราชการบำเหน็จบำนาญและผู้สูงอายุ จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทวีศักดิ์ เผือกสม. (2550). เชื้อโรค ร่างกาย และรัฐเวชกรรม: ประวัติศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (พล อาภากโร) และคณะ. (2560). ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จํากัด.

วิพุธ พูลเจริญ. (2544). อุดมการณ์และยุทธศาสตร์ทางสังคม. นนทบุรี: บริษัท พิมพ์ดี.

สุภาพร คชารัตน์. (2560). จากสุขภาพสู่สุขภาวะ: การปฏิรูประบบสุขภาพของวงการสาธารณสุขไทย. วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 2803-2819.

Bukbun, P. (2019). New health management in a dynamic society. Nonthaburi: Institute Foundation and Community Health System Development.

Health Education Division. (2013). behavior modification health by community. Retrieved March 20, 2022, from www.hed.go.th/linkhed

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-08