การสร้างวัดและการจัดการศาสนสมบัติของวัดในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พระครูพิพิธพัฒนการ (ผอม จนฺโทภาโส) วัดท่าอุดม

คำสำคัญ:

การสร้างวัด, การจัดการศาสนสมบัติ, ประเทศไทย

บทคัดย่อ

วัดเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้บริหารจัดการ ซึ่งการจัดตั้งวัดและสร้างวัดเป็นไปตามตามการบริหารจัดการภายในวัดขึ้นอยู่กับความต้องการของพุทธศาสนิกชนที่บริจาคและช่วยกันออกแบบวัด ให้เป็นสถานที่สำหรับศึกษาปฏิบัติธรรม ซึ่งนอกจากจะแบ่งประเภทตามที่กล่าวไว้แล้วในปัจจุบันก็จะมีวัดบ้านกับวัดป่า ซึ่งวัดบ้านตั้งอยู่ในเขตที่เป็นชุมชนเป็นหมู่บ้าน ส่วนวัดป่ามีบริเวณที่อยู่ในสวนหรือป่าที่เป็นสำหรับศึกษาปฏิบัติธรรมให้พระภิกษุสามเณรได้อยู่อาศัย การสร้างวัดในพระพุทธศาสนาจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องรู้กฎหมายของกระทรวงและพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  ส่วนการจัดการศาสนสมบัตรของวัดตามมาตราที่ 40 หมวดที่ 6 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 จำแนกศาสนสมบัติออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ 1) ศาสนสมบัติกลาง 2) ศาสนสมบัติของวัด 3) จำแนกเป็น 5 ประเภท คือ เจติยสถาน พุทธสถาน สังฆสถาน บริวารสถาน และอนุสรณ์สถาน ส่วนผลลัพธ์ที่ได้จากการสร้างวัดและการจัดการศาสนสมบัติของวัด คือ มีวัดที่เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรม มีศาสนสถานที่เกิดประโยชน์และน่าสนใจ มีสถานที่ปฏิบัติธรรมบำเพ็ญกุศลทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาและชุมชน รวมทั้งเป็นที่อยู่ของพระภิกษุสามเณรเก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม สังคมทำให้เกิดการพัฒนาจิตใจที่ยั่งยืนต่อไปได้

References

กรมการศาสนา. (2540). คู่มือวิทยากร อบรมพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

______. (2542). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

______. (2543). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยพระราชบัญญัติ กฎ ระเบียบ และคำสั่งของคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: กองแผนงาน กรมการศาสนา.

คนึงนิตย์ จันทรบุตร. (2532). สถานะและบทบาทของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย.กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

นารถ โพธิประสาท. (2513). สถาปัตยกรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิชย์.

เนตรนภิศ นาควัชระ และคณะ. (2525). วัดในกรุงเทพฯ : การเปลี่ยนแปลงในรอบ 200 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แนวหน้า. (2565). สาวโวยถูกเจ้าอาวาสวัดดัง หลอกทำบุญให้ยกช่อฟ้าแก้เคล็ด สุดท้ายสูญกว่าล้าน. สืบค้น 24 มีนาคม 2566, จาก https://www.naewna.com/644853

พนม พงษ์ไพบูลย์.(2538). จารึกไว้ในพระศาสนา จารึกไว้ในการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระธรรมวรนายก (โอภาส นิรุตฺติเมธี). (2546). การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน ในธรรมปริทัศน์ 46. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวิสุทธิภัทรธาดา (ประสิทธิ์ พฺรหฺมรํสี). (2547). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพบูลย์ เสียงก้อง. (2544). คน ต้นไม้ และสายน้ำ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2542). คู่มือพระสังฆาธิการและพระวิทยาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

______. (2542). คู่มือพระสังฆาธิการและพระวิทยาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-08