การบูรณาการศีล 5 กับการแก้ไขปัญหาความยากจนในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • พระมหาถาวร ขนฺติวิชฺโช วัดป่าธัญญาราม

คำสำคัญ:

การบูรณาการศีล 5, การแก้ไขปัญหาความยากจน, สังคมไทย

บทคัดย่อ

สำหรับประเทศไทย ความยากจนเป็นความขัดสนทางเศรษฐกิจ ขาดการศึกษา ขาดทรัพยากร ขาดที่ดินทำกินขาดการร่วมกลุ่มและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ขาดข้อมูลข่าวสารความรู้ในการประกอบอาชีพ ไม่สามารถเข้าถึงบริการและความช่วยเหลือของภาครัฐได้ รวมทั้งการมีภาระพึ่งพิงสูง

การแก้ไขปัญหาความยากจนการนำหลักศีล 5 กับเบญจธรรมเป็นหลักที่ช่วยการแก้ปัญหาจากตนเอง นำไปสู่แผนพัฒนาชุมชน สังคม ประเทศชาติต่อไป การบูรณาการหลักศีล 5 และหลักเบญจรรม 5 เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน 1. ไม่ฆ่าสัตว์ กับ เมตตากรุณา ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกันมีความเอื้อเฟื้อต่อกันไม่ทำร้ายกันจะเกิดความปลอดภัยในชีวิต 2. ไม่ลักทรัพย์ กับ สัมมาอาชีวะ(เลี้ยงชีพชอบ คำนึงถึงกฎหมายและจริยธรรม) คือยินดีในทรัพย์ของตนในโลกอยากได้สิ่งของของคนอื่น แล้วเลี้ยงอาชีพในอาชีพที่ไม่ผิดกฎหมายและจริยธรรม 3. ไม่ประพฤติผิดในกาม กับ กามสังวร (ไม่มักมากในกาม) 4. ไม่พูดกับ สัจจะ (พูดจริงทำจริง) 5. ไม่ดื่มสุราและเมรัย กับ มีสติสัมปชัญญะ(อยู่กับปัจจุบัน) ไม่ทำให้มีความสิ้นเปลือง ทั้งทรัพย์สิน ทั้งเวลา ซึ่งจะทำให้เกิดความประมาท ผลของการนำหลักศีล 5 และเบญจธรรมมาบูรณาการ คือ สร้างความสร้างความปรองดอง ลดความขัดแย้ง สร้างความมั่งคั่ง สร้างความปลอดภัยในชีวิต และจิตใจ

References

กรมการศาสนากระทรวงวัฒนธรรม. (2557). แนวทางการดําเนินงานโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 : ชาวประชาเป็นสุขในดําริของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชฉบับที่ 2 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2543). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

พระเทพสิงหวราจารย์ (โสภณ โสภโณ). (2561). การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของคณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2552). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

พระราชวิสุทธิโมลี (ทองดี สุรเตโช). (2526). หลักธรรมสำหรับพัฒนาธรรมจริยา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ภิภพ วชังเงิน. (2545). จริยธรรมวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.

มนูญ วงศ์นารี. (2536). ธรรมะกับการบริหาร. กรุงเทพฯ: บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (มหาชน).

ลำดวน ศรีมณี. (2543). จริยธรรมและจริยศาสตร์ตะวันออก. กรุงเทพฯ: ดวงแก้ว.

Wongnai. (2566). ศีล 5 มีอะไรบ้าง สมาทาน-รักษาศีล 5 อย่างไรให้ชีวิตดีกายใจผ่องใส. สืบค้น 23 มีนาคม 2566, จาก https://www.wongnai.com/articles/five-precepts?ref=ct

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-08