การประยุกต์หลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ:
หลักไตรสิกขา, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักไตรสิกขากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู 3. เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์หลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เชิงปริมาณ ได้แก่ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลปางหมูจำนวน 124 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 95 คน เชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอรรถาธิบายและพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1.ระดับการประยุกต์หลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู ภาพรวมอยู่ในระดับมาก การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างไตรสิกขากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู ในภาพรวม มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (r=.559) 3. แนวทางประการยุกต์หลักไตรสิกขาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู คือ การกำหนดความต้องการขององค์กร รวมไปถึง การอบรมระเบียบวินัย ฝึกอบรมเรียนรู้สำหรับงานในปัจจุบันเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง
References
ขวัญษา เอกจิตต์ และอุทัย สติมั่น. (2559). หลักไตรสิกขากับการพัฒนาตน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 3(2), 170-179.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระศรายุทธ วชิรปญฺโญ และคณะ. (2564). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เขต 5. วารสาร มจร บาฬี ศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 2(1), 243-250.
พระครูพิสัยปริยัติกิจ (แก่น อคฺควณฺโณ) และศราวุธ ปลอดภัย. (2561). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรตามหลักไตรสิกขา. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 3(2), 62-75.
พระครูวีรญาณสุนทร (จรินทร์ อาบคา). (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลัก ไตรสิกขา: กรณีศึกษาวัดตากฟ้า อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระบุญจันทร์ แก้วบุญยงค์. (2551). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวตามหลักไตรสิกขา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐ ประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัตนะ หว่าละ. (2564, 5 กุมภาพันธ์). ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปางหมู จังหวัดแม่ฮ่องสอน [บทสัมภาษณ์].
วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2550). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิจิตรหัตถกร.
สาคร สุขศรีวงศ์. (2551). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร (Management from the Executive’s Viewpoint). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทธิพร สายทอง. (2556). ความเป็นมนุษย์ด้วยหลักไตรสิกขา. วารสาร วิทยาลัยสงฆ์นคร ลำปาง, 2(1), 1-7.
สุมานพ ศิวารัตน์. (2560). การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยไตรสิกขา. วารสารสถาบันวิชาการ ป้องกันประเทศ, 8(1), 36-48.
Nadler Leonard. (1980). Corporate Human Resources Development: A Management Tool. United State of America: McGraw-Hill.
Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.