การบริหารจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (BIG DATA) เพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ : กรณีศึกษาโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการของตำบลภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การบริหาร, การบริหารจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่, การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ 2. เพื่อศึกษากระบวนการบริหารจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการของตำบลภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยารูปแบบการวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารเกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโครงการจำนวน 20 คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ผู้ประกอบการสร้างสรรค์ การเสริมสร้างสถานที่สร้างสรรค์ บรรยากาศสร้างสรรค์ วิสัยทัศน์ผู้นำของเมืองสร้างสรรค์ การส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่นสร้างสรรค์ 2) กระบวนการบริหารจัดการฐานข้อมูล (Big Data) พบว่า มีการวางแผนในการบริหารจัดการฐานข้อมูล มีระบบจัดการฐานข้อมูลผ่านระบบเว็บไซต์ มีระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการค้นหาข้อมูลหรือการจัดการต่างๆ มีระบบการปรับปรุงฐานข้อมูลอยู่อย่างเสมอ 3) รูปแบบการบริหารจัดการฐานข้อมูล (Big Data) เพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมราย พบว่า มีการวางแผนในการบริหารจัดการฐานข้อมูลของโครงการ มีการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนทำการบันทึกและหลังการบันทึกข้อมูลของโครงการ มีระบบการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของฐานข้อมูลของโครงการ
References
กนกพรรณ ชำนาญกิจ. (2560). การประยุกต์ใช้ Big Data ในการบริหารจัดการฐานข้อมูลทางด้านการเงินการบัญชีของสหกรณ์ เพื่อยกระดับศูนย์วิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและการเงินสหกรณ์ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมตรวจบัญชีสหกรณ์.
กรวรรณ รุ่งสว่าง. (2558). การวิเคราะห์สถานภาพการเป็นเมืองสร้างสรรค์กรณีศึกษาชุมชนเมืองขอนแก่น ราชบุรีและบางแสน (วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นันทนิษฎ์ สมคิด. (2561). แนวทางการพัฒนาชุมชนสร้างสรรค์ในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เนารุ่ง วิชาราช. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ของแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ และการจัดการข้อมูล ที่มีต่อความสำเร็จของธุรกิจ. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 6(2), 38-46.
พระครูโสภณปุรารักษ์ (สุทธิวรรณอาภา). (2554). การบริหารจัดการกิจการคณะสงฆ์ด้านการอบรมการปฏิบัติธรรมของวัดในอำเภอดำเนินสะดวกจังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มิ่งขวัญ คงเจริญ. (2554). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความ ยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลภัสรดา สหัสสพาศน์. (2561) รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการพื้นที่สร้างสรรค์จังหวัดเพชรบุรี ตามบริบทสังคมประเทศไทย 4.0. Veridian E-Journal. Silpakorn University, 11(2), 1056-1072.
สมเกียรติ ปุ๋ยสูงเนิน. (2558). อธิบาย Big Data ด้วย 5V+1C. สืบค้น 3 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.somkiat.cc/describe-big-data-with-5v-1c/.
สาครรัตน์ นักปราชญ์ และ คัคนางค์ จามะริก. (2559).การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐในรูปแบบ Business Intelligence (BI) ในยุค Big Data. วารสาร กสทช, 1(1), 553-560.
สุกัญชลิกา บุญมาธรรม. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศจัดการฐานข้อมูลงานวิจัย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 3(2), 39-45.
อาทิตยา เสมอ่วม. (2561). พื้นที่สร้างสรรค์กับการพัฒนาเด็กในสภาวะยากลำบาก : กรณีศึกษาชุมชนวัดดวงแข กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เอกราช ปลอดโปร่ง. (2557). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของพนักงานเทศกิจ สำนักงานเขต บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.