บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรม

ผู้แต่ง

  • พระครูสมุห์ชาคริต ปิยาคโม (ภาคาวัลย์) วัดโบสถ์ (บ้านไท) อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

บทบาท, พระสงฆ์, การพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา บทบาทพระสงฆ์กับการพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรม ใช้วิธีการศึกษาจากพระไตรปิฎก เอกสาร ตำรา งานวิจัย รวมถึงการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1. พระสงฆ์มีต้นทุนของความศรัทธา พระสงฆ์จึงมีหน้าที่เป็นผู้นำโดยจะนำพาประชาชนเข้าสู่ระเบียบของการปฏิบัติธรรม ทั้งการพัฒนาด้านร่างกายโดยใช้ศีลและการพัฒนาด้านจิตใจโดยใช้สมาธิ ประกอบกับปัญญาทางด้านพระพุทธศาสนา เป็นองค์ความรู้ที่จะนำพาจิตใจของประชาชน ให้ละเว้นสิ่งที่ไม่ดีแนะนำในสิ่งที่ดีและทำจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส 2. บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรม 3 ด้าน คือ
1.ด้านสถานที่มีการจัดปฏิบัติธรรมในวัดโดยสถานที่มีความพร้อม อาคารสถานที่ อาหาร และวิทยากร 2. ด้านวิทยากร พระสงฆ์เป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณนำพาประชาชนปฏิบัติให้เข้าถึงสภาวธรรมตามความเป็นจริงตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา และ 3. การบริหารจัดการซึ่งในแต่ละวัดมีการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆที่แตกต่างออกไป โดยภาพรวมเน้นปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน 4 เรื่องของ กาย เวทนา จิต และธรรม 3. ผลที่ได้จากการพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรมคือประชาชนมีการพัฒนาทั้งร่างกายและจิตใจ เห็นคุณค่าของการปฏิบัติธรรม และประเทศชาติเกิดความร่มเย็นสันติสุข

 

References

กองพุทธศาสนศึกษา. (2556). คู่มือโครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ. นครปฐม: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พระธรรมปริยัติโสภณ (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2553). การคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล). (2549). การบริหารวัด. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (บาลี). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม. (2553). คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน 5 สาย. นครปฐม: บริษัท เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-31