การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปวิชาประวัติศาสตร์ตามกระบวนการ Active Learning (MIAP) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 โรงเรียนวิเวกธรรมประสิทธิ์วิทยา วัดธาตุพระอารามหลวง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พระปกาศิต โฆสิตธมฺโม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิรัช เรืองแสน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมควร นามสีฐาน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระพลากร อนุพันธ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บทเรียนสำเร็จรูป, วิชาประวัติศาสตร์, โรงเรียนวิเวกธรรมประสิทธิ์วิทยา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป 2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และ 3. ประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่องพัฒนาการของชาติไทยสมัยรัตนโกสินทร์ โดยใช้รูปแบบ Active Learning (MIAP) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวิเวกธรรมประสิทธิ์วิทยา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 รูป โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนสำเร็จรูป 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียนสำเร็จรูป และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจในการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (µ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และการทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องพัฒนาการของชาติไทยสมัยรัตนโกสินทร์ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.13/87.50 ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ (µ = 17.25, σ = 1.21) และหลังเรียนเท่ากับ (µ = 26.25, σ =1.37) แสดงว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00** ถือว่าอยู่ในระดับดีมากตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.91) และมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

_____. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชีวัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2560). ห้องเรียนกลับด้าน : ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2ฉบับพิเศษ), 171-182.

ณัทรัชตา ทะรีนทร์. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ต่อหน่วยการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ร่วมกับผังความคิด. วารสาร Journal of Modern Learning Development, 5(2), 26-39.

พระสุทธิพงษ์ สุทสสโน (ภักดี). (2563). การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องหน้าที่ชาวพุทธโดยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning (MIAP) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนพระปริยัติธรรมปัจฉิมวันวิทยา จังหวัดอำนาจเจริญ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัสสกรณ์ วิวรรธมงคล. (2564). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาสำหรับนักศึกษาครู. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 198-210.

เพชรจันทร์ ภูทะวัง และสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2566). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(4), 282-296.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). การบริหารการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 36-49.

สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง และคณะ. (2560). กระบวนการพัฒนาทักษะความเป็นพลเมือง ตามระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2ฉบับพิเศษ), 267-276.

สุไรยา หมะจิ. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) กับการสอนปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเตรียมอุดมน้อมเกล้า. วารสาร Journal of Learning Development, 8(1), 261-273.

สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2552). ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: ซี.ซี.นอลลิดจ์ลิงคส์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15