หลักธรรมาภิบาลกับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ศุภมา จิตต์เที่ยง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธวัชชัย ผลสะอาด มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุวิชัย อินทกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักธรรมาภิบาล, บทบาทของนักการเมือง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้ผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชน นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาและเข้าใจถึงหลักธรรมาภิบาลกับบทบาทของนักการเมืองท้องถิ่น และแนวทางในการใช้หลักธรรมาภิบาล 6 ประการ คือ 1) หลักนิติธรรม 2) หลักคุณธรรม 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักความมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิดชอบ และ 6) หลักความคุ้มค่า มาปรับใช้กับนักการเมืองที่บริหารองค์กรส่วนท้องถิ่นต่อไปธรรมาภิบาลเป็นเรื่องของหลักการบริหารแนวใหม่โดยมิใช่หลักการที่เป็นรูปแบบทฤษฎีการบริหารงาน แต่เป็นหลักการการทำงานนำมาใช้เพื่อการบริหารงานให้เกิดความเชื่อมั่นและผลลัพธ์ที่ดีที่สุด อย่างไรก็ดีมีคนจำนวนมากที่ไม่เข้าใจเรื่องของธรรมาภิบาลซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด หลักธรรมาภิบาลสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในภาครัฐ ธุรกิจ ประชาสังคม ปัจเจกชน และองค์กรระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายของการใช้หลักธรรมาภิบาลเพื่อการมีความเป็นธรรม ความสุจริต ความมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ซึ่งวิธีการที่จะสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นมาได้ก็คือการมีความโปร่งใส มีความรับผิดชอบ ถูกตรวจสอบได้ และการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญแต่อาจประกอบไปด้วยหลักการอื่น ๆ อีกได้ด้วยแล้วแต่ผู้นำไปใช้ สำหรับประเทศไทยได้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ที่ให้ความสำคัญกับหลักการสำคัญ 6 หลักการ

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2555). มองมุมใหม่การบริหารท้องถิ่น : ประสบการณ์เรียนรู้จากต่างประเทศสู่ไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์ เสมาธรรม.

โกวิทย์ พวงงาม. (2563). คู่มือการเลือกตั้งท้องถิ่นสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์สำนักงานประเทศไทย.

ชูวงศ์ ฉายะบุตร.(2549). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง.

ชูศักดิ์ เที่ยงตรง.(2543). ระบบการเมืองการปกครองฝรั่งเศส. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้าโกสินทร์วงศ์.

ณัฐพล ใจจริง. (2559) นักการเมืองท้องถิ่น. สืบค้น 15 มกราคม 2566, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=นักการเมืองท้องถิ่น

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2532). ปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2554). การเมืองท้องถิ่น : การเมืองของใครโดยใครเพื่อใคร. กรุงเทพฯ: จตุพรดีไซด์.

ประทาน คงฤทธิ์ศึกษากร. (2545). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: ธนศรเจริญเมือง.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). พระพุทธศาสนาพัฒนาคนและสังคม. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546, 9 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก. หน้า 1-16.

พัชรี สิโรรส และคณะ. (2561). หลักธรรมาภิบาล: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. (2542, 10 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 63 ง. หน้า 24-31.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2543). การเมืองการปกครองไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2543). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์สันติวิธีเพื่อพัฒนาประชาธิปไตย.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2545). การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น : สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และไทย. กรุงเทพฯ: โฟร์เพซ.

วีระ ไชยธรรม. (2542). หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สมเกียรติ สุวรรณธานี. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลประทาย จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยอีสาน.

สมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2543). การปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศต่าง ๆ. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2549). ชุดคู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้ง.

สุพิทักษ์ โตเพ็ง และคณะ. (2564). บทบาทของนักการเมืองกับหลักธรรมาภิบาลในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 11(3), 471-485.

อภิสิทธิ์ หนุนภักดี. (2552). ธรรมาภิบาลในองค์กรภาคประชาคม (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-25