การจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • พระอนุสรณ์ อนุตฺตโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิกร ศรีราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการ, สุขภาวะ, พระสงฆ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับความคิดเห็น 2. เปรียบเทียบความคิดเห็น และ 3. ศึกษาปัญหา ข้อเสนอแนะต่อการจัดการสุขภาวะของพระสงฆ์ในอำเภอละแม จังหวัดชุมพร การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ พระสงฆ์และอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน จำนวน 258 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอนุมาน และในเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของพระสงฆ์และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. พระสงฆ์และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีเพศ และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมแตกต่างกัน จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนพระสงฆ์และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีอายุ และวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นโดยรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย 3. ปัญหา อุปสรรค คือ พระสงฆ์ขาดความรู้ และการศึกษาข้อมูลด้านสุขภาพ คณะสงฆ์ไม่ค่อยมีโครงการหรือกิจกรรมในการให้ความรู้ด้านสุขภาพ และหน่วยงานไม่ได้ตรวจสอบ สำรวจ และวิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพ และข้อเสนอแนะ คือ พระสงฆ์ควรศึกษาความรู้ คณะสงฆ์และหน่วยงานควรจัดอบรมถวายความรู้ตามหลักไตรสิกขา ควรมีนโยบายด้านการบริการสุขภาพและสวัสดิการให้ทุกโรงพยาบาลปฏิบัติเหมือนกันและศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล นำไปเป็นฐานข้อมูลและใช้ในทางการแพทย์ต่อไป

References

กองแผนงานกรมอนามัย. (2564). รายละเอียดโครงการพระสงฆ์กับการพัฒนาสุขภาวะ. สืบค้น 14 สิงหาคม 2564, จาก https:doc.anamai.moph.go.th/index

คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอละแม. (2564). ยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ อำเภอละแม. สืบค้น 10 ธันวาคม 2564, จาก www.lmh.moph.go.th

คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). สถิติเบื้องต้นและการวิจัย: Basic Statistics and Research. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสุวรรณอินทโชติ (จวน อินฺทโชโต). (2564). ข้อมูลทั่วไป. ชุมพร: สำนักงานเจ้าคณะอำเภอละแม.

ชลธิชา จิรภัคพงค์ และคณะ. (2562). สุขภาวะพระสงฆ์: การพัฒนารูปแบบสุขภาวะตามแนววิถีพุทธโดยการบูรณาการสาธารณสุขเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของจังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(6), 1229.

พระครูสังฆรักษ์บุญเสริม กิตฺติวณฺโณ. (2561). สุขภาวะพระสงฆ์: การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะตามแนววิถีพุทธโดยการบูรณาการสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในภาคเหนือตอนบน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาพีระยุทธ อคฺคธมฺโม. (2561). การจัดการในการส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวมของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุริยา ญาณสิทฺธิ. (2564). ความรู้และทัศนคติที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ในจังหวัดสกลนคร (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิทยา ชินบุตร และนภัทร ภักดีสรวิชญ์. (2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 304-305.

สนธนา สีฟ้า. (2560). การศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของพระภิกษุ ในจังหวัดปัตตานี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15