การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
การพัฒนา, ภาวะผู้นำเชิงพุทธ, ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การพัฒนาภาวะผู้นำเป็นกระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือมากกว่าพยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตน กระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่นหรือกลุ่มบุคคลอื่นมีความเต็มใจและกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่มหรือองค์การเป็นเป้าหมาย ในพระพุทธศาสนาได้ให้ความสำคัญกับแนวความคิดเรื่องภาวะผู้นำเอาไว้โดยเห็นว่าในสังคมทุกสังคมจะต้องมีบุคคลที่เกิดมาเพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่นหรือเป็นผู้นำผู้อื่นอยู่เสมอ ซึ่งบุคคลที่มีภาวะผู้นำและเป็นผู้เข้ามาแก้ไขปัญหาในทางพระพุทธศาสนาหากพิจารณาจากหลักฐานเชิงคัมภีร์ พบว่า ในอัคคัญญสูตรที่ว่าด้วยกำเนิดและพัฒนาการของโลกและสังคมมนุษย์ได้ระบุว่าเมื่อโลกมนุษย์และสังคมมนุษย์เกิดขึ้นมาแล้วในระยะแรกมนุษย์มีกิเลสและไม่มีศีลธรรมอันเป็นกฎจริยธรรมพื้นฐานของสังคมก็ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน ต่อมามนุษย์ก็ได้เริ่มพิจารณาหาบุคคลผู้ที่มีความเหมาะสมเข้ามาเป็นผู้นำเพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าภาวะผู้นำเป็นสิ่งที่มีปรากฏอยู่ในเนื้อหาพระพุทธศาสนา โดยการพัฒนาภาวะผู้นำในศตวรรษเชิงพุทธในศตวรรษที่ 21 นี้ ผู้นําที่จะสามารถพัฒนาภาวะผู้นําได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ต้องมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้ คือ การรอบรู้ มีอุดมการณ์ เท่าทัน กล้าตัดสินใจ มีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ สร้างทีม ใฝ่บริการ และนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาบูรณาการในการพัฒนาผู้นำ หากผู้นําสามารถพัฒนาตนเองในลักษณะที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ย่อมจะสามารถเป็นผู้นําที่มีคุณลักษณะภาวะผู้นําที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21
References
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). (2546). วิปัสสนาญาณโสภณ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศรีอนันต์การพิมพ์.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
______. (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
______. (2540). ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ในฐานะศาสนาประจำชาติ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2555). ทศพิธราชธรรม 10 ตัวชี้วัดสำหรับผู้นำองค์กร. กรุงเทพฯ: ศรีเสน่ห์การพิมพ์.
พูนลาภ แก้วแจ่มศรี. (2556). การจัดการเชิงพุทธ : การสํารวจปรัชญาและแนวคิดสําหรับการจัดการ สมัยใหม่. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Allen, S. & Hartman, N. (2008). Leadership Development: An Exploration of Sources of Learning. Advanced Management Journal, 73(1), 10-62.
Barbazette, J., (2006). Training Needs Assessment: Methods, Tools, and Techniques. San Francisco: Pfeiffer.
Campbell, E. & Ellen C.J. (1996). Mood, A., Equality of educational opportunity. New York: Weinfield.
DiPaola, M.F. & Hoy, K.W. (2016). School characteristics that foster organizational citizenship behavior. Retrieved February, 15(2), 323-324.
Hesselbein, F. (1996). Human Resource Management (5th). Washington D.C.: Government Printing.
Mcardle,W.D. (2000). Essential of Exercise Physiology. Tokyo: Lippincott Williams and Wikins.
Sousa, D. (2003). The Leadership brain: How to lead today's schools more effectively. Thousand Oaks: Sage.