เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเลือกตั้งในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • พลวัฒน์ ชุมสุข มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ภัทรพล ใจเย็น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิพนธ์ สุวรรณกูฎ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เศรษฐศาสตร์, การเลือกตั้ง, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยนั้น การเลือกตั้งถือเป็นหัวใจสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการเมืองในระดับชาติ หรือระดับท้องถิ่น โดยเครื่องมือที่สำคัญที่อยู่ในมือของผู้มีอำนาจบริหารในชุดปัจจุบันก็หนีไม่พ้นงบประมาณของรัฐบาลนั่นเอง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เรามักจะพบกับผลการวิจัยเกี่ยวกับวงจรงบประมาณ สอดคล้องกับช่วงเวลาของการเลือกตั้ง ในขณะที่เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเลือกตั้งในยุคดิจิทัล จะเป็นการกล่าวถึงการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญสำหรับการเลือกตั้งโดยเฉพาะเรื่องของเทคโนโลยีด้านการสื่อสารซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ชนะการเลือกตั้ง และเพื่อการเอาชนะใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้หันมาเลือกตนการสื่อสารทางการเมืองจึงเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญด้วย โซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊ก
ทวิตเตอร์ และไลน์ จนกลายเป็นสนามสำคัญของการหาเสียงในการเลือกตั้งและอาจมีผลชี้ขาดต่อการเลือกตั้ง

การซื้อขายแลกเปลี่ยนนโยบายแก่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง นักการเมืองและพรรคการเมืองเป็นผู้ผลิตเมนูนโยบายเพื่อเสนอขาย ส่วนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นผู้เสนอซื้อเมนูนโยบายด้วยการหย่อนบัตรเลือกตั้ง โดยผู้ซื้อต้องชำระด้วยการคะแนนเสียงเลือกตั้งก่อน และได้รับการส่งมอบนโยบาย ดังนั้น การหาเสียงและการสื่อสารย่อมต้องถูก Customized และ Personalized เช่นเดียวกัน

References

กนกรัตน์ เลิศชูสกุล. (2564). สงครามเย็น (ใน) ระหว่างโบว์ขาว. กรุงเทพฯ: มติชน.

กฤษณา ฟองธนกิจ. (2565). ทฤษฎีทางเลือกอย่างมีเหตุผลกับสิ่งท้าทาย. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์, 20(2), 83-101.

ฉันทพัฒน์ จานเก่า และคณะ. (2565). ภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู กรณีศึกษาครูในโรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่พริก-ศรีถ้อย. วารสารครุศาสตร์วิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 7(1), 123-154.

รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์. (2562). นักเศรษฐศาสตร์ในคูหาว่าด้วยทฤษฎีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง. สืบค้น 16 มิถุนายน 2566, จาก https://themomentum.co/economics-of-voting

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2534). เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเลือกตั้ง. สืบค้น 16 มิถุนายน 2566, จาก https://www.the101.world/political-market-and-digital

_____. (2561). อนิจลักษณะของการเมืองไทย : เศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ว่าด้วยการเมือง. กรุงเทพฯ: ผู้จัดการ.

สมคิด พุทธศรี. (2563). Youth Manifesto: นโยบายเยาวชนใหม่เพื่อการเมืองของคนหนุ่มสาว. สืบค้น 16 มิถุนายน 2566, จาก https://www.the101.world/youth-manifesto/

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2562). เอสโตเนียโชว์ปลดล็อกเลือกตั้งยุคดิจิทัลด้วย Blockchain. สืบค้น 16 มิถุนายน 2566, จาก www.dga.or.th

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี (2565). ทางเลือกระบบเลือกตั้งในห้วงเวลาแห่งความโกลาหลของไทย. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 13 (2),1-34.

The Momentum. (2562). นักเศรษฐศาสตร์ในคูหา ว่าด้วยทฤษฎีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง. สืบค้น 16 มิถุนายน 2566, จาก https://themomentum.co/economics-of-voting/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-25