การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศาสนสถานของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระศิริวัฒน์ ปิยสีโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ธิลาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสุธีกิตติบัณฑิต (กฤษฎา กิตติโสภโณ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การบริหาร, ศาสนสถานของวัด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการบริหารจัดการศาสนสถานของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. เพื่อศึกษากระบวนการในการบริหารจัดการศาสนสถานของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 3. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศาสนสถานของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 9 รูปหรือคน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ  โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความเรียงประกอบ จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 กลุ่ม รวม 25 รูปหรือคน

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการศาสนสถานของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดแข็ง วัดมีแผนการต่อเนื่อง จุดอ่อน วัดยังขาดวิสัยทัศน์การก่อสร้าง โอกาส ประชาชนสนับสนุนเป็นหลัก อุปสรรค วัดขาดบุคลากรที่เป็นหลัก 2. กระบวนในการบริหารจัดการศาสนสถานของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มี 4 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผน 2) ด้านการดำเนินการ 3) ด้านการประเมินผลลัพธ์ 4) ด้านการปรับปรุงแก้ไข 3. การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศาสนสถานของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีรูปแบบประจำของวัดและชุมชนนั้นได้แก่ 1) การจัดการด้านต่าง ๆ วัดควรพัฒนาให้ครบทุกองค์ประกอบ 2) การปรับปรุง วัดควรมีซ่อมแซมอย่างต่อเนื่อง 3) การใช้ประโยชน์
วัดควรเป็นสถานที่ใช้ประโยชน์มากที่สุด 4) การบริหารจัดการและดูแลศาสนสมบัติวัด วัดควรมีการดูอยู่ตลอดเวลา

References

กรมศิลปากร. (2538). แนวทางการจัดการโบราณสถานในบัญชีมรดกทางวัฒนธรรมของโลก. กรุงเทพฯ: บริษัทสำนักพิมพ์สัมพันธ์จำกัด.

พระครูใบฎีกาอภิชาติ ธมฺมสุทฺโธ. (2553). ประสิทธิภาพการบริหารงานของเจ้าอาวาสในจังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิสุทธานันทคุณ (สุรศักดิ์ วิสุทฺธาจาโร). (2558). การบริหารจัดการวัดเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพิพัฒนศาสนกิจวิธาน (พิพัฒน์ สุเมธโส). (2551). หลักการแนวคิดและวิธีการพัฒนาวัดพัฒนา 51. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

พระมหานพรักษ์ ชนติโสภโณ. (2557). การบริหารจัดการวัดพัฒนาตัวอย่างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ).พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวีระชัย ชยวีโร. (2556). การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการศาสนสมบัติวัดของคณะสงฆ์ไทย (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดวรัญญู อคฺควชิโร. (2559). การพัฒนาการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชนในยุคโลกาภิวัตน์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 38-54.

พระมหาธฤติ รุ่งชัยวิทูร. (2556). รูปแบบการพัฒนาพระสังฆาธิการเพื่อประสิทธิภาพการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดคำรณ แก้วเกลี้ยง. (2565). การจัดการศาสนสมบัติของวัดในพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6), 339-353.

นิชรา ทองเย็น. (2562). การบริหารจดัการวดัในแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา : วัดพนัญเชิง วรวิหาร วัดใหญ่ชัยมงคล และวัดท่าการ้อง (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-15