การพัฒนาระบบการสอนแบบกระฉับกระเฉงเพื่อการพัฒนาการเรียน ในพุทธศตวรรษที่ 26 สำหรับครูสาระการเรียนสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ดา งานหมั่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบการสอน, พุทธศตวรรษที่ 26, สาระการเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. พัฒนาระบบการสอนแบบกระฉับกระเฉง 2. การเปรียบเทียบพฤติกรรม 3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อระบบการสอน 4. ประเมินรับรองระบบการสอนตามแนวคิดการสอนแบบกระฉับกระเฉง  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีการศึกษา หรือเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ได้มาโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนเหลื่อมพิทยาสรรพ์ จำนวน 105 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาระบบการสอนแบบกระฉับกระเฉงเพื่อการพัฒนาการเรียนในพุทธศตวรรษที่ 26 สำหรับครูสาระการเรียนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา ได้พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการจัดระบบ และการออกแบบระบบการสอน ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ 1) การวิเคราะห์บริบท 2) การวิเคราะห์และกำหนดปัจจัยนำเข้า 3) การเตรียมความพร้อม 4) การจัดกิจกรรมการสอน โดยใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ 5) การประเมินผล 6) การสรุปผลผลการสอน 7) ผลผลิต และ 8) การตรวจสอบและปรับปรุงระบบ 2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการสร้างความรู้ทักษะพุทธศตวรรษที่ 26 ของนักเรียนหลังเรียนผ่านระบบการสอนสูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการทคลองในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อระบบการสอนตามแบบกระฉับกระเฉงเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนพุทธศตวรรษที่ 26 อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.12 4. ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรับรองระบบการสอนอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.08 และได้ให้ข้อสรุปเป็นเอกฉันท์ คือ ระบบการสอนมีความเหมาะสมดีแล้ว

References

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(2), 178-193.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

งามพันธุ์ สัยศรี. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามการเรียนรู้และการสอนบนฐานความยึดมั่นผูกพันและการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ดุษฎีนิพนธ์ครุสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดนุภัค เชาว์ศรีกุล. (2558). การพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในศตวรรษที่ 21 สาหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. INFORMATION อินฟอร์เมชั่น, 22(1), 49-58.

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคัดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารวิทยบริการ, 23(2), 152-164.

พนมนคร มีราคา. (2560). ครูต้องมีลักษณะอย่างไร...ในพุทธศตวรรษที่ 26. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 5(2), 23-35.

พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ และคณะ. (2562). จิตวิญญาณความเป็นครูมืออาชีพ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 31-37.

ภควรรณ อยู่เย็น. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านดิจิทัล ของโรงเรียนบ้านห้วยไผ่อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ภูชิศ สถิตย์พงษ์. (2560). การพัฒนาระบบการสอนภูมิศาสตร์แบบภควันตภาพสำหรับนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 9(3), 218-229.

สวัสดีคุณครู. (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://shorturl.asia/eP6mj

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01