พฤติกรรมสุขภาพตามหลักไตรสิกขา ของผู้สูงอายุจังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
พฤติกรรมสุขภาพ, หลักไตรสิกขา, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักไตรสิกขาของผู้สูงอายุ จังหวัดตรัง 2. เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักไตรสิกขาของผู้สูงอายุ จังหวัดตรัง 3. ศึกษาข้อเสนอแนะการดูแลสุขภาพตามหลักไตรสิกขาของผู้สูงอายุ จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้สูงอายุ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง จำนวน 379 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลักไตรสิกขาของผู้สูงอายุ จังหวัดตรังประกอบด้วยด้านศีล ด้านสมาธิ และด้านปัญญา การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการโดยใช้สถิติค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1.พฤติกรรมสุขภาพตามหลักไตรสิกขาของผู้สูงอายุ จังหวัดตรัง จำเป็นรายด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักไตรสิกขาของผู้สูงอายุ จังหวัดตรัง คือ ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักไตรสิกขาไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการดูแลสุขภาพตามหลักไตรสิกขาของผู้สูงอายุ จังหวัดตรัง ซึ่งผู้สูงอายุมีความรู้ในเรื่องโภชนาการทางการอาหาร ควรออกกำลังกายเป็นประจำ การเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรม การมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชุมชน เคารพกติกาของชุมชน เรียนรู้ระดับอารมณ์ในตัวเองได้ปฏิบัติตามหลักให้เป็นเครื่องเสริมพัฒนาชีวิตจิตใจและปัญญา สามารถอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีระเบียบ รู้จักการพิจารณาไตร่ตรองอารมณ์ของตนเอง ดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2546). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). รายงานผลการดำเนินการจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุปี 2552. กรุงเทพฯ: รังสีการพิมพ์.
เฉลิมพล ตันสกุล. (2557). พฤติกรรมศาสตร์สาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: บริษัท สหธรรมิก จำกัด.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
ศุภวรินทร์ หันกิตติกุล. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำปาง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง. (2562). รายงานสถานการณ์ทางสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตรัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://shorturl.asia/XQaig
สำนักงานสถิติตรัง. (2566). ร้อยละของผู้สูงอายุ. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://shorturl.asia/SYTV4
สุนันทา โอศิริ และคณะ. (2557). การสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทย. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล. (2553). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.