กระบวนการในการบริหารจัดการอารยสถาปัตย์ของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระมหาบรรณ์ ปญฺญาธโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสุธีกิตติบัณฑิต (กฤษฎา กิตฺติโสภโณ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, อารยสถาปัตย์, วัด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการอารยสถาปัตย์ของวัด และ 2. ศึกษากระบวนการในการบริหารจัดการอารยสถาปัตย์ของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากพระสังฆาธิการ บุคลากรสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ผู้นำชุมชน ประชาชนและนักวิชาการทางด้านการจัดการเชิงพุทธ ด้วยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 25 รูปหรือคน ได้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการอารยสถาปัตย์ของวัด พบว่า จุดแข็ง ได้แก่ วัดศูนย์กลางของชุมชนในสังคมไทย มีศักยภาพความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคล และมีการใช้เทคนิคและเครื่องมือที่เหมาะสม มีจุดอ่อนดังนี้ ได้แก่ ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยเหลือคณะสงฆ์อย่างต่อเนื่อง ค่าใช้จ่ายสูง และผู้ใช้บริการยังไม่กล้าไม่มั่นใจต่อการเข้าใช้พื้นที่สาธารณะในวัด มีโอกาสดังนี้ ได้แก่ มีงบประมาณจากภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนต่อเนื่อง การส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และมีโอกาสช่วยเพิ่มสมรรถนะของการท่องเที่ยวในพื้นที่ มีอุปสรรคดังนี้ ได้แก่ มีกฎหมายบังคับ แต่ยังไม่เกิดผลในทางปฏิบัติเท่าที่ควร กฎหมายเกี่ยวกับโบราณสถานเป็นข้อจำกัด และขาดกฎระเบียบ คำสั่ง การบังคับบัญชาและการประเมินติดตามผลงานที่มีประสิทธิภาพ 2. กระบวนการในการบริหารจัดการอารยสถาปัตย์ของวัด พบว่า ด้านการวางแผน กำหนดนโยบายในการบริหารจัดการให้ชัดเจน ด้านการลงมือทำ มีการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านความสะดวกสบายของร่างกาย และผู้มีความต้องการพิเศษแต่ละชนิด ด้านการตรวจสอบ การตรวจสอบปัญหาทั้งปวงและแนวทางในการปรับปรุงสถานที่ให้เข้ากันได้กับความต้องการ ด้านการปรับปรุงแก้ไข การปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายนอกและภายในวัดให้สะดวกสบายและใช้งาน

References

ปวีณา ทวีวงศ์โอฬาร. (2552). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (การศึกษาเฉพาะบุคคลหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรวิทู โค้วคชาภรณ์. (2557). อารยสถาปัตย์ (Universal Desgn). กรุงเทพฯ: สำนักงานวิชาการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

พระครูวัชรสุวรรณาทร (ลูกชุบ ธมฺมโชโต). (2558). การประยุกต์ใช้อิทธิบาทธรรมเพื่อส่งเสริมกลยุทธ์การอนุรักษ์โบราณสถานของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวินัยธรธรรมภณ ธมฺมพโล. (2558). การพัฒนาการจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิสิฐพัชราจาร (ฉิม ปารคู). (2558). การพัฒนาการจัดการสาธารณูปการของพระสังฆาธิการจังหวัดเพชรบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูศรีรัตนธรรมวิเทศ (ปกานนท์ พุทฺธิเมธี). (2557). รูปแบบการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติกัมมัฏฐานของผู้นำชาวพุทธในประเทศอังกฤษ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหานพรักษ์ ขนฺติโสภโณ. (2558). การบริหารจัดการวัดพัฒนาตัวอย่างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-25