รูปแบบการบริหารจัดการอารยสถาปัตย์ของวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระมหาบรรณ์ ปญฺญาธโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูสุธีกิตติบัณฑิต (กฤษฎา กิตฺติโสภโณ) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารจัดการ, อารยสถาปัตย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการอารยสถาปัตย์ของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากพระสังฆาธิการ บุคลากรสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ผู้นำชุมชน ประชาชนและนักวิชาการทางด้านการจัดการเชิงพุทธ ด้วยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 25 รูปหรือคน ได้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการอารยสถาปัตย์ของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า รูปแบบที่ 1 ความเสมอภาค เท่าเทียมกัน  มีการวางแผนก่อนการดำเนินการบริหารจัดการอารยสถาปัตย์ รูปแบบที่ 2 ความยืดหยุ่นในการใช้งาน  การเพิ่มความคล่องตัวของพื้นที่ภายในวัด รูปแบบที่ 3 ใช้ง่าย/เข้าใจง่าย การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและใช้งานง่ายในการเข้าถึงสิ่งของภายในวัดอย่างต่อเนื่อง รูปแบบที่ 4 ข้อมูลชัดเจน  ป้ายแสดงเส้นทางมีความชัดเจน แผนผังวัด และมีการแบ่งโซนพื้นที่อย่างเป็นสัดส่วน รูปแบบที่ 5 ระบบป้องกันอันตราย คือติดป้ายสัญลักษณ์ให้ผู้ขับขี่ระมัดระวังการ ข้ามถนนของทุกคน รูปแบบที่ 6 ใช้แรงน้อย การใช้ประตูบานเลื่อนแทนประตู เปิด-ปิด รูปแบบที่ 7 ขนาดและพื้นที่ใช้งานที่เหมาะสมกับการเข้าถึงและใช้สอย อาคารสถานที่ มีพื้นเรียบ ไม่ลื่น มีระดับที่เสมอกัน แข็งแรงพร้อมใช้งาน

References

กมลสร ฐานวิเศษ และมณิภัทร์ ไทรเมฆ. (2556). การศึกษาผลกระทบทางสังคมรอบอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาจากนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยว (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

จิราวรรณ กาวิละ. (2544). ทางเลือกของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม : กรณีศึกษาหมู่บ้านวัวลาย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยชียงใหม่.

ชุติกาญจน์ แจ้งเสนาะ. (2561). การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล กรณีศึกษา โรงละครสยามนิรมิตและพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA (วิทยานิพนธ์เคหพัฒนามหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนภูมิ ปองเสงี่ยม และวารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2558). แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน, 6(2), 95-112.

ปวีณา ทวีวงศ์โอฬาร. (2552). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรวิทู โค้วคชาภรณ์. (2557). อารยสถาปัตย์ (Universal Desgn). กรุงเทพฯ: สำนักงานวิชาการสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

มนตรี วิวาห์สุข. (2562). การพัฒนาวัดเพื่อรองรับสังคมสูงวัยจังหวัดชลบุรี ระยะที่ 1 (รายงานการวิจัย). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2537). ความสำคัญของกรุงศรีอยุธยา. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://shorturl.asia/1vDyM

ศุภชัย ชัยจันทร์. (2556). การศึกษา universal design : หลักการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล กรณีศึกษาการออกแบบอาคารอาชีวบำบัด บ้านนนทภูมิ ปากเกร็ด นนทบุรี. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.(2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12, : พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01