พุทธธรรมาภิบาลเพื่อส่งเสริมการปกครองท้องที่ในจังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • พระครูอุปกิตปริยัติโสภณ (สุข สุมงฺคโล) มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พุทธธรรมาภิบาล, การส่งเสริม, การปกครองท้องที่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการปกครองท้องที่ 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการปกครองท้องที่ 3. เสนอรูปแบบการประยุกต์หลักพุทธธรรมาภิบาลเพื่อส่งเสริมการปกครองท้องที่ ในจังหวัดอุทัยธานี ดำเนินการวิธีวิจัยแบบผสานวิธี จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง คือ กำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดอุทัยธานี จำนวน 254 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการปกครองท้องที่ คือ กำนัน ผู้ใหญ่ควรตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน และให้ประชาชนภายในชุมชนให้ความร่วมมือกับผู้นำเพื่อการทำงานให้ประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี 2. ผลการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเพื่อใช้สร้างเมทริกซ์สหสัมพันธ์ในการส่งเสริมการปกครองท้องที่จังหวัดอุทัยธานี พบว่าดัชนีบอกภาวะร่วมเส้นตรงพหุ ค่าความคงทนของการยอมรับซึ่งมากกว่าค่ากำหนด และค่าปัจจัยการขยายตัวของความแปรปรวนมีค่าเกินตามที่กำหนด 3. การนำเสนอการประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ที่ส่งเสริมการปกครองท้องที่ในจังหวัดอุทัยธานี พบว่า อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านหลักอัตตัญญุตา ด้านหลักมัตตัญญุตา ด้านหลักกาลัญญุตาและด้านหลักอัตถัญญุ ส่วนที่เหลืออยุ่ในระดับปานกลาง

References

กาสัก เต๊ะขันหมาก. (2553). หลักการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : Principle of Social Science Research. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง. (2557). การพัฒนาภาวะผู้นําวิถีพุทธในยุคโลกาภิวัตน์ (ดุษฎีนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

คณะกรรมการหมู่บ้าน. (2557). คู่มือกฎหมาย ส่วนพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องที่ สำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง. สืบค้น 4 ตุลาคม 2565, จาก https://multi.dopa.go.th/pab/info_organ/about8

ธาตรี มหันตรัตน์. (2559). นักการเมืองถิ่นจังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 3(2), 50-60.

บงกชมาศ เอกเอี่ยม. ( 2557). กํานัน-ผู้ใหญ่บ้าน: บทบาทและภาวะความเป็นผู้นํากับความคาดหวังของประชาชนที่มี ต่อผู้นําชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ปิลัญ ปฏพิมพาคม. (2550). รูปแบบภาวะผู้นําของผู้บริหารและประสิทธิผลของสถานศึกษาเอกชน ระดับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รักษา สุดเส้นผม. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นของไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิภา รุ่งจรัส. (2560). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้านในเขต ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 6(2), 119-128.

สำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2565). ระเบียบ/คู่มือ/กฎหมาย พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457. สืบค้น 4 ตุลาคม พ.ศ. 2565, จาก http://pab.dopa.go.th

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์ และศศิกาญจน์ ทวิสุวรรณ. (2552). การส่งเสริมคุณธรรมที่มีประสิทธิภาพ: กรณีศึกษากลุ่มเด็กเยาวชนและข้าราชการภาครัฐ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

สุริยะ วิริยะสวัสดิ์. (2552). บทบาทกํานันผู้ใหญ่บ้านท่ามกลางสังคมไทยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงปัจจุบัน. วารสารกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน, 62(3), 11-15.

อมร กฤษณพันธุ์. (2555). สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในบริบทพลวัตภูมิทัศน์วัฒนธรรม: กรณีศึกษา ชุมชนชาวแพ แม่นํ้าสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11, 1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-25