การเสริมสร้างประชาธิปไตยตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลบางสีทอง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • พิมมาดา ชาปลิก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุมาลี บุญเรือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเสริมสร้าง, ประชาธิปไตย, หลักอปริหานิยธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการเสริมสร้างประชาธิปไตยตามแนวพระพุทธศาสนา และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 345 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีระดับความคิดเห็นที่มีต่อต่อส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ ส่วนปัจจัยด้าน เพศ และอายุ ไม่พบความแตกต่าง 3. แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยตามแนวพระพุทธศาสนาเพื่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ด้วยการนำอปริหานิยธรรมมาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่มีความสำคัญและสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ตั้งแต่ระดับประชาชนทั่วไปจนถึงผู้นำหรือผู้บริหารประเทศ

References

กิตติ ศรีสมบัติ. (2559). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมในการบริหารงานของเทศบาล ตำบลสัน ผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จินตนา กะตากูล. (2562). การมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนศึกษาเฉพาะกรณี หมู่ที่ ๔ ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

จินตนา จงฤกษ์งาม. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การ บริหารส่วนตำบลแจ้งซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2559). นักการเมืองไทย : จริยธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อน การคอรัปชั่น สภาพปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ แนวทางแก้ไข. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.

บุญทัน ดอกไธสง. (2553). ขอบข่ายรัฐประศาสนศาสตร์ยุคโลกาภิวัตน์. (กรุงเทพฯ: ปัญญาชนการพิมพ์.

ประทาน คงฤทธิศึกษากร. (2535) การปกครองท้องถิ่น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

พระกฤษฎายุทธ ธมฺมวโร. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองภาคพลเมืองในการทวงผืนป่าดอยสุเทพ (ป่าแหว่ง) จังหวัดเชียงใหม่ (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขา รัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาธีระยุทธ ฐานรโต. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้สูงอายุ ในอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุชาติ อาภสฺสโร. (2562). การปฏิบัติงานตามหลักอปริหานิยธรรมของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2559). ประชาธิปไตยไทยในทศวรรษใหม่. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

วัชราภรณ์ โพธิ์ศรีดา. (2543). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญ ศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิษณุกร ปุ่มแม่น. (2551). การมีสวนรวมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา: เทศบาลนครนนทบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

สำนักทะเบียนเทศบาลตำบลบางสีทอง. (2565). ข้อมูลประชากรประจำปี พ.ศ. 2565. นนทบุรี: สำนักทะเบียนเทศบาลตำบลบางสีทอง.

สำนักวิชาการและนักกฎหมาย. (2557). สาระสังเขปประเด็นการปฏิรูปประเทศด้านอื่น ๆ : การเสริมสร้างมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหารประเทศและประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-08