การเลือกตั้งคือจุดกำเนิดของประชาธิปไตย : ความจริงหรือวาทะทางการเมือง

ผู้แต่ง

  • พระครูศรีธรรมวิเทศ (ประเสริฐ ปญฺโญภาโส) มหาวิทยาลัยมหามหาจุฬสลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูศรีปริยัตยาภิมณฑ์ (นพพล เขมนโว) มหาวิทยาลัยมหามหาจุฬสลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การเลือกตั้ง, ประชาธิปไตย, วาททางการเมือง

บทคัดย่อ

โดยสภาพธรรมชาติ มนุษย์ไม่สามารถดรงชีวิตอยู่อย่างอิสระตามลพังแต่ผู้เดียวได้ จะต้องมีชีวิตอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น ๆ ติดต่อสัมพันธ์ซึ่งกันและกันสังคมจึงเกิดขึ้น การอยู่ร่วมกันของมนุษย์เป็นสังคมนั้นมีหลายระดับ ตั้งแต่สังคมเล็ก ๆ จนกระทั่งเป็นสังคมใหญ่คือรัฐหรือประเทศ ซึ่งการอยู่ร่วมกันนี้ จเป็นต้องมีการจัดระเบียบสังคมให้เกิด ความสงบสุข ยุติธรรมรวมทั้งเพื่อให้เกิดการพัฒนาก้าวหน้าของสังคมอีกด้วย โดยจะต้องมีอนาจสูงสุดในการควบคุมหรือปกครองในสังคม ซึ่งเรียกว้าอนาจอธิปไตย ในสมัยโบราณมนุษย์มีความเชื่อในลัทธิเทวสิทธิ์หรือเทพาธิปไตย ดังนั้น หลายประเทศจึงปกครองด้วย
ระบอบราชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อนาจอธิปไตย ในการปกครองและบริหารประเทศแต่เพียงผู้เดียว แต่ต้อมาลัทธิเทวสิทธิ์เสื่อมลงและมีความเชื่อในเรื่องที่คนในประเทศทุกคน มีสิทธิร่วมกันในการปกครองและบริหารประเทศ จึงเกิดระบอบการปกครองประชาธิปไตยขึ้น โดยที่ประชาชนทุกคนในประเทศเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และมีรัฐสภาเป็นองค์กรที่ตัวแทนของประชาชนที่มาจากการเลือกตั้งเข้าไปร่วมกันทำหน้าที่ปกครองและบริหารประเทศซึ่งประชาชนเข้าใจว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นประชาธิปไตย ในความเป็นจริงในปัจจุบันประชาชนใช้สิทธิ์เลือกผู้แทนตนเองเพื่อเข้าไปบริหารประเทศแต่ผู้แทนเหล่านั้นกลับไม่ได้ทำตามหน้าที่ที่ความเป็นจริงแล้วต้องสนองความต้องการของประชาชน อาจกล่าวได้ว่าสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นเพียงวาทการเมืองเท่านั้นก็เป็นไปได้

References

ดำริห์ บูรณะนนท์. (2544). การเมืองการปกครองไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนิกาญน์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2549). การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2536). ปัญหาการพัฒนาทางการเมืองไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเจิดอักษร ลักษณ์. (2549). ประชาธิปไตยในวิถีชีวิตไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์์ แม็คจำกัด.

ปรีดี พนมยงค์. (2528). การเมืองในระบอบประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_____. (2535). ประชาธิปไตยกับชนชั้นกลาง. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2539). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: พิฆเนศ.

สมยศ เชื้อไทย และวรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2527). แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : มิตรนราการพิมพ์.

_____. (2527). แนวคิดเรื่องชนชั้นนำและการศึกษาโครงสร้างอำนาจชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรุณ ภาณุพงศ์.(2539). หลักเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงเรียนประชาสงเคราะห์.

Roussillon, H. (1994). Le conseil constitutionnel (2nd ed). Paris, Dalloz.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-25