ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา : การเสริมสร้างหลักโภชนาการในภัตตาหารสำหรับ พระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ:
โภชนาการ, ภัตตาหารเพล, พระนิสิตบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งนำเสนอการเสริมสร้างหลักโภชนาการสำหรับพระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนปฏิบัติทั้งในส่วนของพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ไปใช้ประโยชน์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่พระนิสิต เพราะความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนา พระสงฆ์ และสังคมไทย มีความเกี่ยวเนื่องอย่างลึกซึ้งต่อกัน ทั้งในการดำเนินชีวิต วิถีปฏิบัติและการส่งเสริมให้สังคมสงบสุขและมั่นคง เพื่อพระสงฆ์ไม่ต้องอาพาธด้วยโรคเรื้อรัง ดังที่กำลังประสบปัญหาในปัจจุบัน และเพื่อให้พระนิสิตจะมีสุขภาพที่ดี รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนในการประพฤติกรรมต่าง ๆ สำคัญ คือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านโภชนาการ ทั้งในส่วนพฤติกรรมการฉันอาหารและน้ำปานะของพระนิสิตเอง และพฤติกรรมการใส่บาตรและถวายอาหารของพุทธศาสนิกชน เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพหรือโรคภัยที่ท่านเป็นอยู่ จนกลายเป็นปัญหาโรคเรื้อรังที่ยากต่อการดูแลรักษา เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคมะเร็ง ฯลฯ ซึ่งสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากอาหารทำบุญตักบาตรของพุทธศาสนิกชนที่ยังขาดความรู้ในหลักโภชนาการ และไม่ตระหนักถึงผลเสียต่อการเจ็บป่วยของพระสงฆ์ โดยมักจะถวายอาหารที่เค็มจัด หวานจัด หรือมันจัด การถวายอาหารที่มีรสเค็มจัดจะทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง ส่วนอาหารที่หวานจัดจะทำให้เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และอาหารที่มันจนเกินไปจะทำให้เป็นโรคไขมันในเลือด ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างหลักโภชนาการให้พระนิสิตมีสุขภาพที่ดีจึงจำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจเป็นอย่างดีในการการเสริมสร้างโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเอื้อต่อพระธรรมวินัยและการเรียนของพระนิสิตต่อไป
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2549). รู้ไว้...อนามัยดี๊ดี. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
นพวรรณ เปียซื่อ และคณะ. (2552). ความรู้ทางโภชนาการทัศนคติเกี่ยวกับอาหาร พฤติกรรมการรับประทานอาหารและภาวะโภชนาการของนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 9(1), 18-29.
พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ และคณะ. (2558). สุขภาพดี เริ่มที่คุณ. นนทบุรี: กรมอนามัย.
พุทธชาด สวนจันทร์. (2550). ความรู้ทางโภชนาการ การบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของ ครูโรงเรียนเอกชน (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ). (2543). คำสอนสำหรับผู้บวชใหม่: คู่มือดำเนินชีวิตของนักบวชใหม่ใต้ร่มกาสาวพัสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธรรมสภา.
ยุพยง พรหโมบล และคณะ. (2548). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพระสงฆ์ที่มารับบริการ ณ หน่วยหอผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสงฆ์. วารสารกรมการแพทย์, 30(3), 148-156.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชัน.
วิโรจน์ นาคชาตรี. (2555). อาหารและวิธีการบริโภคเพื่อสุขภาพตามทัศนะของพุทธ ปรัชญา. วารสารวิจัย รามคําแหง, 15(1), 15-25.
สมิทธิพล เนตรนิมิต. (2533). ภาพชีวิตของพระสงฆ์ในอริยวินัย. กรุงเทพฯ: บริษัทนีโอดิจิตอลจำกัด.
สันต์สัม ปัตตะวนิช และคณะ. (2559). เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมกับการบริโภคอาหาร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิริพันธุ์ จุลกรังคะ. (2546). โภชนศาสตร์เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เนตรนภิส ธีระวัลย์ชัย. (2554). โภชนาการ. สืบค้น 18 สิงหาคม 2566, จาก www.si.mahidol.ac.th.../บทที่23 โภชนาการ-อ.เนตรนภิส.doc