การบริหารเชิงกลยุทธ์สำหรับการดำเนินงานธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • รุ่งฬิยา เมฆนิมิคคานนท์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • สมยศ อวเกียรติ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การจัดการเชิงกลยุทธ์, ธุรกิจโรงแรม, การจัดการการดำเนิงงาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และสภาพภายนอก 2. ศึกษาปัจจัยคุณลักษณะของธุรกิจ 3. ศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการ 4. วิเคราะห์และนำเสนอแนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์เพื่อผลการดำเนินธุรกิจโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 320 แห่ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การแจกแจงความถี่และการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การวิเคราะห์ One Way ANOVA และวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ และในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการศึกษาคือ การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรงแรม 17 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

  ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์กรยังขาดการกำหนดวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์และขบาดการสื่อสารความเข้าใจกับพนักงาน การใช้สื่อเทคโนโลยีใหม่ และการใช้ภาษา 2. จังหวัดที่ตั้งของโรงแรม ทุนจดทะเบียน ระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ ระดับมาตราฐานของโรงแรม จำนวนพนักงาน จำนวนห้องพัก มีความแตกต่างกันการในการดำเนินงานธุรกิจโรงแรมด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายในและด้านการพัฒนาและการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. การจัดการการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก
โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยได้แก่ การวางแผนกลยุทธ์ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ระบบสารสนเทศเทคโนโลยี การพัฒนาบุคคล และการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ 4. แนวทางการจัดการเชิงกลยุทธ์ได้แก่ การจัดการทางด้านภาวะผู้นำในการบริหารนโยบายขององค์กร การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและทักษะการเรียนรู้เทคโนโลยีและการใช้ภาษาการบริหารงานทางด้านการเงิน การบริหารลูกค้าสัมพันธ์และการบริการลูกค้า

References

จุฬารัตน์ ขันแก้ว. (2563). ผลกระทบของการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรม: บทบาทของความสามารถทางการตลาด. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(4), 1-21.

ณัฏฐกฤติ นิธิประภา. (2564). บทวิเคราะห์สถานการณ์ MSME สาขาธุรกิจการท่องเที่ยว ปี 2564 และแนวโน้มปี 2565. สืบค้น 9 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.sme.go.th/th/download.php?modulekey=275

ถนอมศิลป์ จันคณากิติกุล .(2561). ปัจจัยการบริหารธุรกิจที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกอบการธุรกิจโรงแรม: กรณีศึกษาผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธงไชย สุรินทร์วรางกูร. (2560). ธุรกิจโรงแรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการตลาดและการส่งเสริมการขาย. วารสารวิชาการ การจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(1), 66-74.

วัฒนา ทนงค์แผง. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก เขตพื้นที่จังหวัดตราด. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 13(3), 136-151.

อานนท์ วงศ์เชียง และสุรีย์ เข็มทอง. (2555). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 10(1), 107-118.

Chow, K.K. (2019). An Analysis of Internal and External Factors Affecting Peel Hotel PLC’s Profitability Performance. University Utara Malaysia.

Jie Zhang & Astrid Estrup Enemark. (2016). Factors Influencing Business Performance in Hotels and Restaurants. Asia-Pacific Journal of Innovation in Hospitality and Tourism 1 (APJIHT). 5(1), 1-20.

Mwangi, S. W. (2017). Challenges Faced by Undergraduate Students in Academic Writing: A Case of Kenyan Students. African Multidisciplinary Journal of Research, 1, 1-25.

Robert Kaplan & David Norton. (1992). The Balanced Scorecard—Measures that Drive Performance. Retrieved March 20, 2022, from https://shorturl.asia/2oGgJ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-25