การจัดการขยะปลอดขยะ (Zero Waste) แนวทางเพื่อสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • พระมหากฤษธิชัย กิตฺติธมฺโม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการขยะ, ปลอดขยะ, เพื่อสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ จะกล่าวถึงแนวคิดการจัดการขยะปลอดขยะ (Zero Waste) เพราะปัจจุบัน ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ในประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ ปริมาณขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในด้านคุณภาพอากาศ คุณภาพดิน และแหล่งน้ำ รวมไปถึงปัญหาภาวะโลกร้อน โดยแนวคิดการจัดการขยะปลอดขยะ (Zero Waste) เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการลดปริมาณขยะมูลฝอยที่ส่งไปกำจัดให้เหลือศูนย์ โดยมุ่งเน้นไปที่การลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นที่ต้นทาง ผ่านหลักการ 3Rs ได้แก่ การลด (Reduce) การใช้วัสดุที่ก่อให้เกิดขยะ, การใช้ซ้ำ (Reuse) วัสดุที่ยังสามารถใช้งานได้อีกครั้ง และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) วัสดุที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นวัสดุใหม่ได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและหลักการของการจัดการขยะปลอดขยะ (Zero Waste) 2) เพื่อศึกษาแนวทางและวิธีการในการลดปริมาณขยะตามหลัก 3Rs 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการนำแนวคิดการจัดการขยะปลอดขยะ (Zero Waste) สู่การปฏิบัติ

การศึกษานี้คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการขยะอย่างยั่งยืนในประเทศไทย โดยสามารถช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการของการจัดการขยะปลอดขยะ (Zero Waste) แนวทางและวิธีการในการลดปริมาณขยะตามหลัก 3Rs ตลอดจนผลกระทบของการจัดการขยะปลอดขยะต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำไปสู่
การพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมการนำแนวคิดการจัดการขยะปลอดขยะ (Zero Waste)สู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2559). คู่มือประชาชน การคัดแยกขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธีและเพิ่มมูลค่า. กรุงเทพฯ: บริษัท ฮีซ์ จำกัด.

_____. (2561). คู่มือปฏิบัติการ 3 ใช้ (3R) เพื่อจัดการขยะชุมชน. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

เขมภัทท์ เย็นเปี่ยม และคณะ. (2563). แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการขยะของเทศบาลเมืองหัวหิน. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 16(1), 19-33.

เขมิกา สงวนพวก. (2564). การบริหารการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลโก่งธนู อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 12(2), 28-48.

จิรภัทร ชูจันทร์ และเฉลิมพร เย็นเยือก. (2564). การบริหารจัดการขยะมูลฝอยตามหลัก 3Rs ของเทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 5(2), 1-13.

เนาวรัตน์ ปิ่นอำนาจ และคณะ. (2563). การบริหารจัดการขยะชุมชนด้วยระบบอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมของชุมชน. The Journal of Pacific Institute of Management Science (Humanities and Social Science), 6(3), 208-215.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี และศุภวรรณ ภิรมย์ทอง (2558). การจัดการปัญหาขยะมูลฝอยในชุมชนเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 8(2), 7-29.

อรชร ไกรจักร์ และคณะ. (2566). พัฒนาฐานข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลเพื่อการจัดการสู่ชุมชมปลอดขยะวิถีพุทธ ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 11(3), 11226-1142.

เอกรินทร์ ตั้งนิธิบุญ และคณะ. (2562). ชุมชนต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยด้วยแนวคิดขยะเหลือศูนย์ (Zero waste) ของชุมชนพูนบำเพ็ญ แขวงภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

The Grass Roots Recycling Network. (2004). What is Zero Waste. Retrieved September 17, 2023, from http://www.grrn.org

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01