การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มี ต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ภัคสิริ แอนิหน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • วัชรินทร์ ชาญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ความไว้วางใจ, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาความไว้วางใจทางการเมือง 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจทางการเมือง 3. นำเสนอแนวทางการบูรณาการหลักสังคหวัตถุ 4 โดยการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้ง 3 อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอเมืองสมุทรสาคร อำเภอกระทุ่มแบนและอำเภอบ้านแพ้ว ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปที่ส่งผลต่อความไว้วางใจทางการเมือง เช่น ควรเป็นคนที่น่าเคารพนับถือ มีความเมตตา กรุณา มีนโยบายที่ดีสามารถตอบสนองความต้องการ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจทางการเมือง พบว่า ปัจจัยด้านความพึงพอใจของประชาชนมีผลต่อการพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองฯ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และร่วมกันอธิบายความผันแปร ได้ร้อยละ 86.8 สังคหวัตถุ 4 ส่งผลต่อการพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองฯ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และร่วมกันอธิบายความผันแปรของหลักสังคหวัตถุ 4 ส่งผลต่อการพัฒนาความไว้วางใจทางการเมือง ได้ร้อยละ 89.0 3. การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองฯ โดยประยุกต์ใช้ตามหลักสังคหวัตถุ 4 คือ ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา โดยหลักสังคหวัตถุ 4 ส่งผลต่อการพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดสมุทรสาคร

References

กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์. (2557). จุดเริ่มต้นประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

โกวิทย์ พวงงาม. (2560). สภาพปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.กรุงเทพฯ: สยามรัฐ.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 22.

พันธุ์ทิพา อัครธีรนัย. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครนายก : ศึกษาในช่วงเวลา 2559 (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

ชิตพล กาญจนกิจ. (2545). ความไว้วางใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเมืองท้องถิ่นไทย : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบล (ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชยพล ธานีวัฒน์. (2562). ความสำคัญของการเลือกตั้งและกฎหมายเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้งปี 2562. สืบค้น 10 มกราคม 2564, จาก www.parliament.go.th

วรยุทธ สถาปนาศุภกุล. (2560). คุณลักษณะผู้นําทางการเมืองท้องถิ่นที่พึงประสงค์ตามทัศนะของ ประชาชนอําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(2), 243-253.

พระทรงวุฒิ รัตนะ และคณะ. (2564). การกล่อมเกลาทางการเมืองของ ประชาชนที่มีผลต่อการใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 4(1), 44-53.

จักรวาล สุขไมตรี. (2562). การบริหารงานตามหลักสังคหวัตุ 4 ขององค์การบริหารส่วนตำบลตะพง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารราชพฤกษ์, 17(2), 105-111.

พระครูศรีปริยัตยารักษ์ (ประสงค์ กิตฺติปญฺโญ). (2562). การนำหลักสังคหวัตถุ 4 ไปใช้ในพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรบริหารส่วนตำบล. วารสารธรรมวิชญ์, 2(2), 318-328.

Aberbach, J.D. & Walker, J.L. (1970). Political Trust and Racial. New York: Addison-Wesley.

Miller. (1999). Monopoly Politics. Stanford. California: Hoover Institution Press.

Inglehart, R. & David P.R. (1997). Voting Correctly. American Political Science Review, 91(3), 585-598.

William Kornhauser. (1960). The Politics of Mass Society. London: Route ledge and Kegan Paul.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-25