การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • กนกนุช นิยนันท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุริยา รักษาเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักอิทธิบาท 4, การพัฒนาสมรรถนะ, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการพัฒนาสมรรถนะบุคลากร 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาท 4 และ 3. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับสมรรถนบุคลากร และเพื่อเสนอแนวการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาประชากรจำนวน 138 คน ด้วยแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ที่ความเชื่อมั่น 0.994  สถิติใช้ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับหลักอิทธิบาท 4 พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสมรรถนะของของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2. หลักอิทธิบาท 4 และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยรวม กับการพัฒนาสมรรถนะ
มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในระดับปานกลาง 3. แนวการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 คือ ด้านฉันทะ ความพอใจ ส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานด้วยความยินดีและเต็มใจ ด้านวิริยะ ความเพียร ส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานด้วยความขยันขันแข็ง ด้านจิตตะ ความอาใจใส่ ส่งเสริมให้บุคลากรใส่ใจในการทำงาน และด้านวิมังสา ความไตร่ตรอง ส่งเสริมให้บุคลากรรู้จักปรับปรุงกระบวนการทำงาน

References

กิจสมพงษ์ กล้าหาญ. (2549). ศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

คติยา อายุยืน. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะบุคคลตามหลักพุทธธรรมของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคใต้ตอนบน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระณธีร์วิชญ์ คมฺภีรปญฺโญ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะหลักของบุคลากรเทศบาลในยุคโลกาภิวัตน์ตามหลักพุทธธรรม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระบุญเพ็ง สิทธิวงษา. (25625). การใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการบริหารจัดการท้องถิ่นของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลสีออ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(5), 2460-2477.

พระมหาบัณฑิตย์ อิทฺธิยาวุโธ. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การบริหารส่วนตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาศุภกิจ สุภกิจฺโจ (ภักดีแสน). (2557). กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัชรี ทรงประทุม. (2549). มิติใหม่ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิชญาภา เมธีวรฉัตร. (2557). รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง 2 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิโรจน์ สารัตนะ. (2555). การพัฒนานโยบายการศึกษา. ขอนแก่น: ภาควิชาการพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุปัญญดา สุนทรนนธ์. (2557). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงของบุคลากร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา, 7(2), 65.

องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก. (2565). รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566, จาก https://shorturl.asia/cZKi3

_____. (2565). ข้อมูลบุคลากร. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566, จาก https://shorturl.asia/y4Q6L

_____. (2566). ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้น 10 มิถุนายน 2566, จาก https://shorturl.asia/GNJRj

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01