การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมือง ของเด็กและเยาวชนในจังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
การประยุกต์หลักพุทธธรรม, ส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมือง, เด็กและเยาวชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาจิตสำนึกทางการเมืองของเด็กและเยาวชน2. เสนอการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองของเด็กและเยาวชนในจังหวัดสมุทรปราการ รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 8 รูปหรือคน การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.984 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ จำนวน 397 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. จิตสำนึกทางการเมืองของเด็กและเยาวชนในจังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน และ 2. การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมจิตสำนึกทางการเมืองของเด็กและเยาวชนในจังหวัดสมุทรปราการประยุกต์กับหลักอปริหานิยธรรมโดยร่วมกันประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ปฏิบัติตามหลักการและอุดมการณ์ทางประชาธิปไตย เคารพนับถือผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ร่วมปกป้องเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาสในสังคม อนุรักษ์รักษาวัฒนธรรมทางการเมืองที่ดีงาม รักษากฎระเบียบของชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน
References
จิราภรณ์ ดำจันทร์. (2560). การเปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตยที่ไม่ตั้งมั่น: ความล้มเหลวของการทำให้เป็น ประชาธิปไตยในประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธานินท์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
ประคอง มาโต. (2564). การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองในจังหวัดอุทัยธานี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร. (2564). การนำหลักพุทธธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพวรรณ ปุริมาตร. (2563). พลวัตทางการเมืองกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2559). ประชาธิปไตยไทยในทศวรรษใหม่. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
สามารถ มังสัง. (2564). อปริหานิยธรรม 7: หลักการปกครอง. สืบค้น 25 มิถุนายน 2566, จาก https://mgronline.com/daily/detail/9640000115674
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ข้อมูลพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ. สืบค้น 23 มิถุนายน 2566, จาก https://shorturl.asia/KmVX6
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). เยาวชนกับการมีส่วนร่วมประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.