พุทธธรรมประยุกต์เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของประชาชนในจังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • พระครูกิตติญาณวิสิฐ (ธนา กิตฺติญาโณ) วัดสามขาว

คำสำคัญ:

พุทธธรรมประยุกต์, พัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมือง, ประชาชน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดอ่างทอง 2. นำเสนอรูปแบบพุทธธรรมประยุกต์เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดอ่างทอง รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และการสนทนากลุ่มเฉพาะจำนวน 8 รูปหรือคน การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.930 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในจังหวัดอ่างทอง ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดอ่างทอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้านตามลำดับ และ 2. รูปแบบพุทธธรรมประยุกต์เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดอ่างทองการหมั่นประชุมกันบ่อยครั้งเป็นวิธีที่ดีในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน การใช้เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือในการประชุมออนไลน์ สร้างพื้นที่การประชุม สร้างพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการประชุม และการสนทนาระหว่างรัฐบาล หรือองค์กรทางการเมืองกับกลุ่มประชาชน สนับสนุนสิทธิ และเสรีภาพ สนับสนุนสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐาน เคารพประธาน และความคิดเห็นของสมาชิกในที่ประชุม เรียนรู้เกี่ยวกับกฎระเบียบและการกระทำที่เหมาะสม รักษากฎระเบียบของชุมชน และสังคมอย่างยั่งยืน โดยศึกษาการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบ และกฎหมายทางการเมือง อารักขา คุ้มครองอันชอบธรรมแก่บรรพชิตซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตลอดไป

References

จิราภรณ์ ดำจันทร์. (2560). การเปลี่ยนผ่านเป็นประชาธิปไตยที่ไม่ตั้งมั่น: ความล้มเหลวของการทำให้เป็น ประชาธิปไตยในประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุมพล เพ็งศิริ. (2563). การส่งเสริมความเข้มแข็งการเมืองภาคประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธานินท์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2549). นักการเมืองไทย: จริยธรรม ผลประโยชน์ทับซ้อนการคอรัปชั่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารธาร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

ประคอง มาโต. (2564). การส่งเสริมความนิยมทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมือง ในจังหวัดอุทัยธานี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร. (2564). การนำหลักพุทธธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธาวินัยรส (สุเทพ ปสิวิโก). (2564). อิทธิพลของพรรคการเมืองที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูสิทธ์ ขันติกุล. (2553). รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2559). ประชาธิปไตยไทยในทศวรรษใหม่. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

THE STANDARD TEAM. (2023). Voters in Ang Thong Province. Retrieved June 23, 2023, from https://thestandard.co/check-the-number-of-voters-in-2566/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01