รูปแบบประสิทธิภาพการบริหารจัดการวัดด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของพระสังฆาธิการ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, การบริหารจัดการ, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, พระสังฆาธิการบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปในการบริหารจัดการ 2. ศึกษาองค์ประกอบในการบริหารจัดการ 3. นำเสนอรูปแบบประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนาเฉพาะกลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปในการบริหารจัดการ มีจุดแข็ง คือ มีวัดที่โดดเด่นทางประวัติศาสตร์ สวยงามและเหมาะสำหรับการเรียนรู้ มีวัดท่องเที่ยวอยู่หลายวัด และจัดงานประเพณีตลอดปี จุดอ่อน คือ ขาดการจัดการเชิงระบบ ขาดความรู้ในการทำการโฆษณา โอกาส คือ คณะสงฆ์และหน่วยราชการให้การสนับสนุนงบประมาณและบุคลากร มีสื่อออนไลน์ TV YouTuber ให้ความสนใจ อุปสรรค คือ เจ้าอาวาสไม่มีนโยบายจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ระบบราชการบางส่วน ที่ไม่เอื้อต่อการจัดการ การเงินที่จำกัด 2. องค์ประกอบในการบริหารจัดการ พบว่า มีการวางแผนร่วมกันระหว่างวัด หน่วยงานท้องถิ่น และประชาชน ลงมือทำตามแผนโมเดล มีการเก็บข้อมูลผลงานที่ดำเนินการและข้อควรปรับปรุง ซึ่งอาจเป็นผลการประเมินความพึงพอใจหรือข้อเสนอแนะของนักท่องเที่ยว และหาบุคลากรภายนอกมาร่วมบริหาร และร่วมในกระบวนการปรับปรุงแก้ไข 3. รูปแบบประสิทธิภาพการบริหารจัดการประกอบด้วย ด้านการโฆษณา ต้องโฆษณาในสิ่งที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ด้านการจัดการบุคลากร ดึงชุมชนให้มีส่วนร่วม เช่น จัดการแสดงพื้นบ้าน ด้านการบริการ ผู้ให้บริการพูดจาไพเราะ มีอัธยาศัยดี ด้านการรักษาความปลอดภัย รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ อาสาสมัครมาดูแลความเรียบร้อย
References
ปณต อัศวชัย. (2565). อัตลักษณ์ของชุมชนเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์แบบยั่งยืนของ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง. วารสารลวะศรี, 6(1), 19-35.
พระครูโอภาสกิตติวัฒน์ ทีปธมฺโม และระวิง เรืองสังข์. (2559). การพัฒนาวัดเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมที่ยั่งยืน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 3(2), 87-95.
พระปลัดสุดฤทธิ์ ธนสาโร และยโสธารา ศิริภาประภากร. (2563). ศาสนากับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อการส่งเสริมเส้นทางแสวงบุญสู่วัดไพรพัฒนา จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 4(1), 79-92.
พระมหากิตติกร กิตฺติรกฺโข. (2565). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสำราญ ญานุตฺตโม. (2561). การจัดการวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดสมุทรสงคราม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเอกลักษณ์ อชิโต. (2562). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีพุทธของวัดในจังหวัดสมุทรสงคราม (ดุษฎีพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภัคชุดา พูนสุวรรณ และอรพิน ตันติวิรุฬห์. (2566). เศรษฐกิจการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน : การพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 6(3), 118-127.
ภัยมณี แก้วสง่า และนิศาชล จำนงศรี. (2555). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: ทางเลือกใหม่ของการท่องเที่ยวไทย. Suranaree Journal of Social Science, 6(1), 91-109.
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และคณะ. (2559). ฤติกรรมและส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการท่องเที่ยววิถีไทยของนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 9(3), 127-139.
วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ. (2558). การพัฒนาและการปรับตัวของการท่องเที่ยวไทย ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ROMPHRUEK JOURNAL, 33(1), 57-78.