การประยุกต์หลักพุทธธรรมในการจัดการความขัดแย้งทางสังคม

ผู้แต่ง

  • ธีรยุทธ ชะนิล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ปาริชาติ ชุมพงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, ความขัดแย้ง, สังคม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้เป็นการกล่าวถึงหลักพุทธธรรมในการจัดการความขัดแย้งทางสังคม ซึ่งสังเคราะห์ข้อมูลมาจากงานวิจัย เรื่องบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการความขัดแย้งในอำเภอนบพิตำ กรณีศึกษาปัญหาความขัดแย้งจากการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร โดยการใช้หลักพุทธธรรมของศาสนาพุทธมาเป็นเครื่องมือขัดเกลาและบริหารจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมโดยการนำหลักธรรม อริยสัจ 4 มาพิจารณาเพื่อให้เห็นถึงต้นตอหรือรากเหง้าของความขัดแย้งในสังคม ซึ่งในที่นี้คือ (ทุกข์) ตามหลักของไตรลักษณ์ พิจารณาให้ทราบถึงสาเหตุของความขัดแย้งนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร (สมุทัย) จากนั้นจึงหาวิธีในการจัดการความขัดแย้ง (มรรค) เพื่อนำไปสู่วิธีการจัดการความขัดแย้ง (นิโรธ) ซึ่งจะถือเป็นกระบวนการสุดท้ายในการจัดการความขัดแย้งโดยการประยุกต์หลักพุทธรรม ทำให้เกิดความสามัคคีอันเป็นการอยู่ร่วมกันโดยสันติวิธี

References

จำนง อดิวัฒนสิทธิ์. (2548). สังคมวิทยาตามแนวพุทธศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

จิตราภรณ์ สมยานนทนากุล. (2548). การใช้แนวทางสันติวิธีในการแก้ไขความขัดแย้ง : ศึกษากรณีโครงการท่อส่งก๊าซและโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซียอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ (การปกครอง). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไชยันต์ รัชชกูล. (2545). ความขัดแย้งในบริบทของสันติศึกษา : สันติศึกษา เอกสารการสอนชุดวิชาสันติศึกษา หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดรุณี จงประสิทธ์ิกุล. (2544). ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่ป่าไม้กับชุมชนในการจัดการทรัพยากรป่าไม้: กรณีศึกษาเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าดอยผาช้าง (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปริสา สมภมิตร. (2543). การจัดการความขัดแย้งของชุมชนอันเนื่องมาจากนโยบายการเวนคืนที่ดินของรัฐ: กรณีศึกษาชุมชนแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภพชนก ชลานุเคราะห์. (2548). แนวทางการพัฒนาบทบาทของปลัดอำเภอในการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอ บางเลน จังหวัดนครปฐม. นักศึกษาหลักสูตรนายอำเภอ รุ่นที่ 59. กรุงเทพฯ: กรมการปกครอง.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2547). ความขัดแย้ง : หลักการ และเครื่องมือแก้ปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2553). การจัดการความขัดแย้งและการมีส่วนร่วม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

Filley. (1975). Organization Behavior developing Management Skill. New York: Herper & Row Publisher.

Katz, D. & Kahn, R. L. (1978). The Social Psychology of Organizations (2nd ed). New York: John Wiley.

Myers, D. D. (1983). Psychology. McGraw-Hill International, Tokyo.

Brown, G. & Yule, G. (1983). Discourse analysis. Cambridge: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01