การให้บริการรูปใหม่ของสนามบินสุวรรณภูมิหลังสถานการณ์โควิด 19 เข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นมีความสัมพันธ์ต่อการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ

ผู้แต่ง

  • นิศา นุ่มวงษ์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • เนตร์ศิริ เรืองอริยภักดิ์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • ภาคภูมิ พันปี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

การบริการรูปแบบใหม่, โควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น, การบริการสู่ความเป็นเลิศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. สำรวจข้อมูลส่วนบุคคลของผู้โดยสาร 2. สำรวจการให้บริการรูปแบบใหม่ของสนามบินสุวรรณภูมิ 3. สำรวจการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ 4. หาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล การให้บริการรูปแบบใหม่ และการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ ใช้วิธีการวิจัยแบบเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ (Frequency Distribution ) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation)

ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นหญิง อยู่ในช่วง Gen Z ระหว่าง 18-24 ปี มีอาชีพข้าราชการ รัฐวิสาหกิจ ระยะเวลาในการทำงาน 1-10 ปี 2. การให้บริการรูปแบบใหม่โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมากในด้านความรวดเร็ว (Fast) และด้านความสะดวกสบายด้วยนวัตกรรม (Smart) มากเท่ากันอันดับแรก และด้านการใช้บริการแบบไร้รอยต่อ (Seamless) ตามลำดับ 3. ภาพรวมการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก หากมองรายด้านพบว่ามากอันดับแรกคือ ด้านการจัดการอย่างเป็นระบบที่ 4. ด้านความสัมพันธ์พบว่า การให้บริการรูปแบบใหม่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 (Sig. 0.00) ด้านทฤษฎี นโยบาย หากสนามบินสุวรรณภูมิให้บริการที่รวดเร็วด้วยการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมการบริการ และส่งเสริมการทำงานระหว่างคนกับนวัตกรรมบริการให้ทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ จะทำให้สนามบินสุวรรณภูมิมีการบริหารจัดการได้อย่างเป็นเลิศ ยั่งยืน และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

References

กฤษ พัฒนสาร. (2565). ทางเลือก ทางรอด Direction and trend of aviation industry. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

คณะกรรมการการศึกษา สาขาการจัดการธุรกิจการบิน. (2565). ทางเลือก ทางรอด!!! ทิศทางและแนวโน้มการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมการบิน. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/50J36

ฐานเศรษฐกิจดิตอล. (2565). เปิดประเทศ หนุนสายการบินเทคออฟสู่ภาวะปกติ 165 ล้านคน ปี 68. สืบค้น 26 กรกฎาคม 2566, จาก ttps://shorturl.asia/fsu0m

ผู้จัดการออนไลน์. (2565). ศักดิ์สยาม คาดปี 66 สุวรรณภูมิ ผู้โดยสารรีเทิร์น 2 แสนคน/วัน สั่งเร่งเปิด SAT-1 ส่วนปรับแบบอาคารตะวันออกงบพุ่งหมื่นล้านบาท. สืบค้น 16 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/g48QU

พันธุ์ทิพา หอมทิพย์. (2566). โควิด -19 บนเส้นทางเปลี่ยนผ่านสู่โรคประจำถิ่น. สืบค้น 6 กรกฎาคม 2566, จากhttps://shorturl.asia/NvJBo

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: บริษัท วสิทธิ์พัฒนา จำกัด.

สุวิมล ติรกานันท์. (2549). การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Airport of Thailand Public Company Limited. (2022). Air Transport Statistic 2022. Retrieved July 20, 2023, from https://shorturl.asia/MQlA6

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Tech Talk Thai. (2023). Deciphering the Airport of the Future the big problem in driving Thai airports to world-class level. Retrieved June 21, 2023, from https://shorturl.asia/jGoKs

Thaioil Group. (2023). Management towards excellence. Publication date: Does not appear. Retrieved July 22, 2023, from https://shorturl.asia/2imGy

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed). New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01