ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่สัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการ ธุรกิจรถเช่าของบริษัทกรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จำกัด (มหาชน)

ผู้แต่ง

  • นิติพงษ์ สุวรรณศร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • แสงจิตต์ ไต่แสง มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, การให้บริการ, ธุรกิจรถเช่า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) และคุณภาพการให้บริการธุรกิจรถเช่า 2. เปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการธุรกิจรถเช่า จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กับคุณภาพการให้บริการธุรกิจรถเช่า เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ใช้บริการรถเช่าของบริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จำกัด (มหาชน) จำนวน 242 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การทดสอบแอลเอสดี และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) และและคุณภาพการให้บริการธุรกิจรถเช่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2. ผู้ใช้บริการรถเช่าที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน 3. ผู้ใช้บริการรถเช่าที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการธุรกิจรถเช่า ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน และ 4. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพการให้บริการธุรกิจรถเช่า ในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ชาญชัย เลิศบัญธรกุล. (2566). ธุรกิจรถเช่า ในไทย เป็นอย่างไร น่าทำไหม. สืบค้น 25 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.rentconnected.com/blogs/car-rental-business-in-thailand/

นรุตม์ ดำริห์. (2561). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเช่าเครื่องเสียงของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (สารนิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาดนตรี). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

นาตยา เรือนงาม. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการให้บริการของพนักงานที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านรถเช่า กรณีศึกษา บริษัท นิค คาร์เร้นท์ แอนด์ทรานสปอร์ต จำกัด (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จำกัด (มหาชน). (2565). ข้อมูลผู้ใช้บริการรถเช่าจากบริษัทกรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ: บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ ลีส จำกัด (มหาชน).

บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน). (2566). ธุรกิจรถเช่า ชี้ช่องทางสร้างรายได้. สืบค้น 25 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/4j1Ms

พระเท่ง สุข. (2560). ความคิดเห็นของลูกค้าในการเลือกใช้บริการอู่ซ่อมรถยนต์บริษัท เฮงรุ่งเรือง จำกัด เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร (วืทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

เยาวภา ทิมินกุล. (2560). ส่วนประสมการตลาดบริการของศูนย์บริการรถยนต์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

วรัญญา บำรุงสรณ์. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการรถตู้โดยสารของบริษัทเสนาสหนิยม (จำกัด) (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี. (2566). การคาดการณ์มูลค่าตลาดรถเช่า ปี 2566. สืบค้น 25 กรกฎาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/N4Rv2

เอสเธอร์ เปี่ยมวรเวทย์. (2562). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าร้านเท็ดดี้เฮาส์ไทยแลนด์ สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการ). นนทบุรี :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Kotler, P. (2000). Marketing management: Analyzing consumer marketing and buyer behavior (the millennium). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Parasuraman, et al. (1990). Delivery quality service: Balancing customer perceptions and expectations. New York: Free Press.

Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory analysis (3rd ed.). New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01