ผู้นำทางการเมืองเชิงพุทธในยุค DISRUPTION

ผู้แต่ง

  • พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) วัดบางอ้อยช้าง
  • พระสมรัก ภทฺทปญฺโญ วัดบางอ้อยช้าง

คำสำคัญ:

ผู้นำทางการเมือง, พุทธศาสนา, ในยุค DISRUPTION

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผู้นำทางการเมืองเชิงพุทธในยุค DISRUPTION โดยใช้วิธีการศึกษา จากเอกสาร ตำรา หนังสือ สื่อออนไลน์ รวมถึง การสังเคราะห์ วิเคราะห์ ผลจาการศึกษาพบว่า 1. ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อผู้นำทางการเมือง ได้แก่ นโยบายสาธารณะและประชาธิปไตย 2. หลักภาวะผู้นำทางการเมืองพุทธ ประกอบด้วยความอดทนต่อการปฏิบัติงาน ความตื่นตัวอยู่เสมอ ความขยันหมั่นเพียร ความมีอัธยาศัยดี ความมีจิตใจที่รักใครต่อเพื่อนร่วมงาน ความมีอัธยาศัยดีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการเอาใจใส่ต่องานรับผิดชอบ ต่อหน้าที่ รวมถึงหลักศีล 5 ข้อ 3. ผู้นำทางการเมืองในยุค Disruption สามารถสร้างวิสัยทัศน์ที่เกิดผลเป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนารัฐให้ไปสู่ความสำเร็จกล่าว คือ ประชาชนได้รับผลจากนโยบายสาธารณะและเกิดเป็นประชาธิปไตยเกิดการยอมรับ สามารถพัฒนาประเทศชาติหรือออกความคิดเห็นแทนประชาชนได้ 4. การพัฒนาสมรรถะของผู้นำทางการเมืองเชิงพุทธ ประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 คือ 1. ความรู้ คือ รู้ในกฎหมาย ระเบียบ พระราชบัญญัติต่าง ๆ รวมถึงการบริหารราชการแผ่นดิน รู้พันธกิจของตนเองและเข้าถึงประชาชนโดยเป็นผู้นำในยุค Disruption 2. ความสามารถในการทำหน้าที่ ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลที่ชัดเจน 3. การมีทัศนคติที่ดี คือ มีความทัศนคติที่สอดคล้องกับความคาดหวังของประชาชน การนำหลักภาวะผู้นำเชิงพุทธและการนำศีล 5 มาประยุกต์ใช้เป็นคุณธรรมหรือว่าเป็นจริยธรรมเบื้องต้น

References

คมกฤช จองบุญวัฒนา และวีรวุธ มาฆศิรานนท์. (2564). คัมภีร์ผู้บริหาร HBR MANAGER'S HANDBOOK (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

ดนัย เทียนพุฒ. (2550). ความสามารถในทรรศนะ ดร.ดนัย เทียนพุฒ. กรุงเทพฯ: บริษัทเอ. อาร์. อินฟอร์เมชั่น แอน พับลิเคชั่น จำกัด.

เทื้อน ทองแก้ว. (2560). สมรรถนะ (Competency) : หลักการและแนวปฏิบัติ. สืบค้น 12 ตุลาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/wmv5T

บุญทัน ดอกไธสง. (2565). รัฐประศาสนศาสตร์เปลี่ยนโลก 2 (พิมพ์ครั้งที่ 2). พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มัณชุลิกา กามูล. (2566). องค์ประกอบของรัฐ. สืบค้น 10 ตุลาคม 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/473747

สภาผู้แทนราษฎร. (2566). อำนาจหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร. สืบค้น 11 ตุลาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/Z9oLe

สุนิดา พินิจการ. (2540). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาหลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา: สมรรถนะของผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Boonyen, K. (2023). What is the Disruption Era? How important is it? Solve all the questions of people who want to know.

Retrieved October 10, 2023, from https://shorturl.asia/9M6V1

TNN Online. (2023). Revealing the full government policy statement of the Prime Minister to Parliament. Retrieved October 11, 2023, from https://www.tnnthailand.com/news/politics/155081/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-01