ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในประเทศไทยที่ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย
คำสำคัญ:
เทคโนโลยีสารสนเทศ, การสื่อสาร, นักท่องเที่ยวต่างชาติบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาปัจจัยด้าน ICT ในประเทศไทยที่ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย และ 2. ศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรเหตุและตัวแปรตามปัจจัยที่ส่งผลต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิประเภทอนุกรมเวลารายไตรมาส จำนวน 41 ไตรมาส เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 ด้วยวิธี ARDL ใช้ค่าสถิติ Bound Test และการทดสอบสมมุติฐานด้วยวิธี Pairwise Granger Causality Tests
ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยด้านจำนวนเลขหมายโทรศัพท์ประจำที่ จำนวนคู่สายระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และ จำนวนหมายเลขโทรศัพท์มือถือจดทะเบียนในประเทศไทยส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเยือนประเทศไทยในระยะยาว ซึ่งจำนวนเลขหมายโทรศัพท์ประจำที่และจำนวนหมายเลขโทรศัพท์มือถือจดทะเบียนในประเทศไทยส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเยือนประเทศไทยในระยะยาวในทิศทางเดียวกัน และ 2. ผลการทดสอบความสัมพันธ์เปรียบเทียบรายคู่ พบว่า การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเยือนประเทศไทยและการเพิ่มขึ้นของจำนวนหมายเลขโทรศัพท์ประจำที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนคู่สายระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้น 5 กันยายน 2566, จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411
กสทช. (2565). รายงานอัตราค่าบริการโทรคมนาคม ประจำปี 2565. สืบค้น 7 กันยายน 2566, จาก https://shorturl.asia/RD2La
_____. (2566). จำนวนหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่จัดสรรสะสม. สืบค้น 5 กันยายน 2566, จาก https://shorturl.asia/NaZL2
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). แผนปฏิบัติการดิจิทัลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พ.ศ. 2566-2570. สืบค้น 18 ตุลาคม 2566, จาก https://tatreviewmagazine.com/article/tat-roadmap/
ศิริภรณ์ พงศ์ลี้ และคณะ. (2565). แรงจูงใจและองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยวทางอินเทอร์เน็ตของนักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิก สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 477- 486.
อัชฌา รัตนโอภาส. (2564). ปัจจัยแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวกลุ่มดิจิทัลนอแมดที่ส่งผลต่อความภักดีของจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยว). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Dickey, D.A. & Fuller, W.A. (1981). Likelihood Ratio Statistics for Autoregressive Time Series with Unit Root. Econometrica, 49, 1057-1072.
Granger, C. W. J. (1969). Investigating Causal Relations by Econometric Models and Cross-Spectral Methods. Econometrica, 37, 424-438.
Kumar, N. & Kumar, R.R. (2020). Relationship between ICT and international tourism demand: a study of major tourist destinations, Tourism Economics, 26(6), 908-925.
Lee, C.C., et al. (2021). The impacts of ICTs on tourism development: International evidence based on a panel quantile approach. Information Technology & Tourism, 23, 509-547.
Mohahamed, A. A. L. (2020). Long-run relationship between ICT and Tourism Demand in Sri Lanka. Journal of Information Systems & Information Technology (JISIT), 5(1), 68-74.
Nguyen, Q. & Nguyen, C. (2022). An analysis of the relationship between ICT infrastructure and international tourism demand in an emerging market. Journal of Hospitality and Tourism Technology, 13(5), 992-1008.
Pesaran, M.H., et al. (2001). Bounds testing approaches to the analysis of level relationships, Journal of Applied Econometrics, 16(3), 289-326.
Phuong Thao, H.T., et al. (2021). The relationship between tourism, foreign direct investment, energy consumption, agriculture and economic growth: evidence from Vietnam. Journal of Contemporary Issues in Business and Government, 27(2), 6612-6632.
Sharma, M., Mohapatra, G. and Giri, A.K. (2022). Assessing the role of ICT, governance, and infrastructure on inbound tourism demand in India. Retrieved March 20, 2023, from https://shorturl.asia/fVB2J
Sims, C. A., (1972). Money, Income, and Causality. The American Economic Review, 62(4), 540–552.
Stevens, J. (1996). Applied multivariate statistics for the social sciences (3rd ed.). Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.