ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ไทย

ผู้แต่ง

  • พระมหาชินภัทร ฉินฺนาลโย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความคาดหวังของประชาชน, การบริหารจัดการ, งานสาธารณสงเคราะห์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ ผู้เขียนมุ่งเน้นเพื่อศึกษา ความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ไทย ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารตำรา รวมถึงการสังเคราะห์วิเคราะห์จากผู้เขียน ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคาดหวัง
ของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ไทย ได้แก่ การที่พระสงฆ์เป็นที่พึ่งในเรื่องของจิตใจเพราะว่าวัดมีหลายสถานไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของโรงทาน โรงธรรม หรือว่าโรงสร้างสติปัญญา โรงสาธารณสงเคราะห์ 2) งานด้านสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ไทยเป็นกระบวนการที่ทำให้วัดบ้านโรงเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกันมีจิตเป็นหนึ่งเดียวก่อให้เกิดความสามัคคีและโดยทางอ้อมสามารถนำหลักธรรมทางพุทธ ในฐานะที่เป็นชาวพุทธทำกิจกรรมร่วมกันเกิดจากหลักธรรมที่เป็นนามธรรมที่สามารถกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นผู้มีความบริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ รวมถึงสามารถนำหลักธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3)งานสาธารณสงเคราะห์ ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาจิตวิญญาณ พระสงฆ์มีบทบาทในการอบรมทางด้านศีลธรรมด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม พระสงฆ์มีบทบาท
ในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและการรักษาประเพณีทางพุทธศาสนา ด้านการเผยแผ่ พระสงฆ์มีบทบาทโดยตรงในการเทศนาและสอนให้ประชาชนละชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาด้านให้การศึกษา การสอนวิชาความรู้ต่าง ๆ ให้เยาวชนและประชาชน ด้านสังคมสงเคราะห์ การช่วยเหลือทั้งด้านวัตถุและจิตใจแก่พุทธศาสนิกชน

References

คนึงนิตย์ จันทบุตร. (2530). สถานภาพและบทบาทของพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม.

เฉลิม จันปฐมพงศ์. (2520). ประวัติศาสตร์สังคมไทย. นนทบุรี: เสถียรไทย.

ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2557). การบริหารกิจการพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พรประภา กิจโกศล. (2534). บทบาทและผลได้ต่อการพัฒนาชนบทของพระสงฆ์ : ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านโนนเมือง จังหวัดนครราชสีมา (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2537). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัทสหธรรม จำกัด.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). บทบาทของพระสงฆ์ในสังคมปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : สยามสมาคม.

พระมหากฤษฎา นันทเพชร. (2540). ทัศนคติของพระสงฆ์ต่อบทบาทการพัฒนาสังคม (วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระมหาทะนงชัย บูรณพิสุทธิ์. (2546). บทบาทของวัดกับชุมชนเมืองในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาชนบทศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตฺโต). (2527). สถาบันสงฆ์กับคนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.

ภัทรพร สิริกาญจน. (2540). หน้าที่พระสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ: แนวคิดและบทบาทพระคำเขียน สุวณฺโณ ในการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2546). วัดพัฒนา 46. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา.

Vroom, V. H. (1970). Work and Motivation. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-25